เทคนิคการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบ Knowledge Sharing เพื่อก้าวใหญ่ของการเติบโต
อุปสรรคของการสร้างวัฒนธรรมองค์กร Knowledge Sharing แก้ไขอย่างไรดี
การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ภายในองค์กร หรือ Knowledge Sharing คือ การแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ ผ่านการถ่ายทอดความรู้เและประสบการณ์จากการทำงานของคนกลุ่มหนึ่ง ไปสู่คนอีกกลุ่มหนึ่ง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ซึ่งจะมีผลต่อการปฏิบัติงานโดยตรง ช่วยยกระดับคุณภาพการทำงานให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น และสร้างผลประโยชน์ให้กับองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง
ในองค์กรที่ไม่มีระบบ Knowledge Sharing พนักงานจะต้องเผชิญกับอุปสรรคจากการทำงานมากมาย ผ่านการทดลองถูกผิดด้วยตัวเองอยู่หลายครั้ง จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งนอกจากจะทำให้เสียเวลา และสิ้นเปลืองทรัพยากรแล้ว ผลของการไม่มี Knowledge Sharing อย่างเป็นระบบในองค์กร จะเป็นการเพิ่มต้นทุนในการปฏิบัติงานอันมหาศาล อย่างที่องค์กรคาดไม่ถึงเลย
อุปสรรคของการยกระดับวัฒนธรรมองค์กรแบบ Knowledge Sharing
หนึ่งในปัญหาสำคัญของการจัดการระบบ Knowledge Management ภายในองค์กร คือการยกระดับให้องค์กรมีวัฒนธรรมองค์กรแบบ Knowledge Sharing สร้างนิสัยการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในองค์กรให้เกิดขึ้นได้จริง ซึ่งสิ่งนี้จะต้องอาศัยกระบวนการหล่อหลอมพฤติกรรมของพนักงานที่ใช้ระยะเวลายาวนาน เพื่อให้กลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กร ที่แม้แต่พนักงานใหม่ก็จะต้องปรับตัวตามให้ทัน
อุปสรรคสำคัญของการบริหารจัดการระบบ KM (Knowledge Management) คือ พฤติกรรมหวงแหนความรู้ของพนักงาน ทำให้ไม่สามารถดึงเอาความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคล หรือ Tacit knowledge ที่มีมากกว่าร้อยละ 80 ขององค์ความรู้ภายในองค์กรออกมาใช้ได้ ซึ่งความรู้จากประสบการณ์การทำงานเป็นความเชี่ยวชาญสำคัญ ที่ถือเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าต่อองค์กรอย่างมาก และมักเกิดการกระจุกตัวอยู่กับบุคลากรเพียงไม่กี่คนเท่านั้น
ปัญหานี้มีรากฐานมาจากวัฒนธรรมขององค์กรเป็นสำคัญ พนักงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญไม่ต้องการถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้ที่ตัวเองมี เพราะไม่ต้องการรับกับความเสี่ยงของการถูกลดคุณค่าในองค์กร ซึ่งการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะช่วยแก้ปัญหานี้ในระยะยาวได้
เทคนิคการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบ Knowledge Sharing
สื่อสารให้พนักงานทุกระดับในองค์กร เล็งเห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของการมีระบบ Knowledge Management และยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติหลักภายในองค์กร เริ่มจากการทำให้พนักงานเห็นประโยชน์ที่ได้จากความรู้ ซึ่งจะเกิดขึ้นกับตัวบุคคลก่อน และนำไปสู่การสร้างประโยชน์ต่อองค์กรได้
จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานในรูปแบบต่างๆ อยู่เสมอ เพราะการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้นั้น มีความจำเป็นต้องอาศัยความไว้วางใจ ความใกล้ชิดระหว่างกันและกันของพนักงาน กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้แบบไม่เป็นทางการ มีการแบ่งปันแบบเป็นกันเอง เคารพสิทธิ และให้อิสระในการคิดต่อยอด ซึ่งจะช่วยลดพฤติกรรมการหวงความรู้ได้
สร้างนโยบายและกำหนดแนวทางปฏิบัติ ในการสนับสนุนให้พนักงานแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ชื่นชมหรือให้รางวัลกับพนักงานที่แบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง
ผู้นำมีบทบาทสำคัญในการยกระดับวัฒนธรรมองค์กรแบบ Knowledge Sharing ให้เกิดขึ้นจริง โดยเริ่มจากการทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง แบ่งปันความรู้สำคัญที่ตัวเองมีให้กับพนักงาน แลกเปลี่ยนเทคนิคการทำงานสำคัญที่ทำให้พนักงานรู้สึกถึงการได้รับการยอมรับ เพิ่มความไว้วางใจ และเชื่อใจซึ่งกันและกัน
ส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานแบบเป็นทีม สิ่งนี้จะช่วยลดพฤติกรรมการทำงานคนเดียว ลดการกระจุกความรู้ให้ฝังอยู่ที่ตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยเพิ่มพฤติกรรมการทำงานที่ต้องร่วมงานกับพนักงานคนอื่นๆ กระตุ้นให้แบ่งปันความเชี่ยวชาญต่างๆ ซึ่งกันและกัน
สร้างวัฒนธรรมแห่งการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ Knowledge Sharing ภายในองค์กรตั้งแต่วันแรกสำหรับพนักงานใหม่ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่อง Knowledge Management ภายในองค์กร สอบถามมุมมองความคิดเห็นของพนักงานใหม่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในองค์กร ตลอดจนการแนะนำช่องทางการเข้าถึงความรู้ใหม่ๆ ภายในองค์กรที่สามารถเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็ว
สร้างรูปแบบการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ให้มีความหลากหลาย นอกเหนือจากการแบ่งปันความรู้ระหว่างกันเองในทีม ควรส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมพนักงานอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยเพิ่ม Tacit knowledge ให้กับพนักงานได้โดยตรง จัด Workshop โดยผู้เชี่ยวชาญจากภายใน หรือภายนอกองค์กร สนับสนุนให้พนักงานเข้าสังคม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งจะเป็นประตูสู่การแลกเปลี่ยนความรู้ แชร์ข้อมูลเชิงลึก และประสบการณ์การทำงานที่มีผลต่อวิธีการทำงานในด้านต่างๆ
ลงทุนกับเครื่องมือจัดการองค์ความรู้ขององค์กร หรือระบบ Knowledge Management System ที่จะช่วยจัดระเบียบองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อให้มีการนำความรู้เหล่านั้นออกมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อการทำงานอย่างเห็นผลจริง และมีการอัพเดตความรู้ใหม่ที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
การจัดการความรู้ภายในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ต้องอาศัยระบบ Knowledge Sharing ให้การแลกเปลี่ยนความรู้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมขององค์กรโดยตรง สร้างวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการแบ่งปันความรู้ระหว่างบุคลากรในองค์กร ปลูกฝังให้พนักงานมีทัศนคติที่ดีต่อการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อการต่อยอดความรู้ในพนักงานรุ่นใหม่ต่อไป สิ่งเหล่านี้จะทำให้องค์กรสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องด้วยความรู้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ
ความรู้ภายในองค์กรจะถูกนำมาใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดได้ ต้องมีระบบ KM (Knowledge Management) ที่ดี SmartKMS ระบบจัดการองค์ความรู้ขององค์กร Knowledge Management System จาก TIGERSOFT ตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้การจัดการองค์ความรู้ภายในองค์กรบริษัทของคุณเป็นเรื่องง่าย พนักงานทุกระดับสามารถดึงข้อมูลต่างๆ ออกมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และสะดวกสบาย สานต่อทุกความรู้ใหม่ๆ ได้อย่างคล่องตัว
ระบบ SmartKMS จาก TIGERSOFT สามารถกำหนดตั้งค่าการเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้หลายระดับตามความต้องการบริหารจัดการ การใช้งานรองรับได้หลายอุปกรณ์ ผ่านแพลตฟอร์มเดียวกัน เพิ่มความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ และเพิ่มความแม่นยำในการตัดสินใจของผู้ปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้สถานการณ์ไหน พนักงานสามารถเข้าถึงทุกองค์ความรู้ได้อย่างง่ายดายผ่านสมาร์ทโฟนเพียงปลายนิ้ว
ใช้ระบบ SmartKMS จาก TIGERSOFT แปลงโฉมองค์กรของคุณให้เป็นองค์กรแห่งอนาคต
สนใจหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Tigersoft
สามารถติดต่อไทเกอร์ซอฟท์ได้ที่