ติดตาม TIGERSOFT ผ่านช่องทางต่างๆ
มี.ค. 04, 2020

ลูกจ้างต้องรู้! กรณีต้องหยุดงานเพราะ โควิด-19” จะได้รับค่าจ้างหรือไม่…??

สถาณการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือโรค โควิด-19” (COVID-19) ยังคงขยายวงกว้างทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ถึงขั้นประกาศให้โรคนี้กลายเป็นโรคติดต่ออันตราย

หนึ่งในเหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็คือ การแพร่เชื้อจากคนหนึ่งสู่อีกหลายคน จากการเดินทางกลับมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด หรือมีโอกาสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีไข้หรืออาการที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ กลับไม่ให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับแพทย์และเจ้าหน้าที่ซักประวัติ ซึ่งอาจเป็นเพราะกลัวการถูกกักตัวเพื่อสังเกตอาการ 14 วันก็เป็นได้

แต่ความจริงแล้วไม่ควรให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ เพื่อการรักษาและการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น หากไม่มีการแจ้งข้อมูลให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง จะมีโทษปรับเป็นมูลค่า 20,000 บาท หากเป็นบุคคลที่มีโอกาสในการเป็นโรคโควิด-19 ก็จะต้องถูกกักตัวเป็นเวลา 14

เมื่อถูกกักตัวเพื่อสังเกตอาการ “โควิด-19” จะได้รับ “ค่าจ้าง” ตามปกติหรือไม่…??

  • กรณีถูกสั่งกักตัวสังเกตอาการ

ทางการไทยมีมาตรการกักตัวเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน สำหรับผู้ที่เดินทางไปยังประเทศที่มีความเสี่ยง ลูกจ้างจะได้รับค่าจ้างในระหว่างที่ถูกกักตัวหรือไม่

ด้านสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 มีคำตอบให้กับเรื่องนี้ว่า หากลูกจ้างถูกกักตัวตอนเดินทางกลับมาที่ไทย ตามอำนาจของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตาม ม.34 (1) และ ม.52 ตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ 2558 เพราะมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตราย

แต่อำนาจตามกฎหมายดังกล่าวจะมีผลให้ลูกจ้างไปทำงานให้นายจ้างตามสัญญาไม่ได้ ถือว่าไม่ใช่ความผิดของฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง แต่ลูกจ้างจะไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง และนายจ้างก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ตามหลักการ ‘no work no pay’

  • กรณีที่มีอาการป่วยเป็นโรคโควิด-19

หากเป็นเหตุอันสมควรว่าลูกจ้างมีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคโควิด-19 และมีการตรวจที่บ่งชี้ว่ามีอาการเป็นไข้ นั่นถือว่าเข้าสิทธิ “ลูกจ้างป่วย” แน่นอนว่าใช้สิทธิลาป่วยได้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และลูกจ้างจะได้ลาป่วยโดยชอบต่อนายจ้างแล้ว ยังได้รับค่าจ้างในวันที่ลาป่วยอีกด้วย

แต่มีข้อยกเว้นหากลูกจ้างไม่ใช้สิทธิลาเพราะอาจไม่ได้รับค่าจ้าง เนื่องจากลาป่วยเกิน 30 วันแล้วในรอบปี กรณีนี้ลูกจ้างยังสามารถใช้สิทธิลาพักร้อนได้ แต่ถ้าใช้สิทธิดังกล่าวจนครบตามที่กฎหมายกำหนด และยังไม่หายจากอาการเจ็บป่วย กรณีนี้อาจต้องตกลงกับนายจ้างเรื่องการหยุดงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง

โรคติดต่อโควิด-19 (COVID-19) ถือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง เกี่ยวข้องกับเรื่องของสุขภาพและความเป็นความตายของชีวิตคน ดังนั้นการปฏิบัติต่อกันระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง หรือบุคคลใดก็ตามที่เกี่ยวข้อง จะต้องคำนึงถึงสุขภาพร่างกายและชีวิต เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อดังกล่าว มากกว่าการคำนึงถึงผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ใครคนใดคนนึงอาจสูญเสียไป

 

ขอบคุณข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจ

ลดภาระการทำเงินเดือน ด้วยโปรแกรมเงินเดือน

ลดภาระการทำเงินเดือนของแผนก Payroll ด้วยโปรแกรมเงินเดือน บริหารจัดการข้อมูลเงินเดือนในองค์กรด้วยโปรแกรมเงินเดือน (โปรแกรม payroll) การลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับองค์กร เพื่อความก้าวหน้าอย่างไม่มีสิ้นสุด ภาระงานของ HR หรือผู้บริหารในปัจจุบันถือว่าไม่ใ […]

16 ก.พ. 2023

รู้จักโปรแกรม HR ความคุ้มค่าที่องค์กรควรลงทุน!

ทำความรู้จักโปรแกรม HR ความคุ้มค่าที่องค์กรควรลงทุน! ขับเคลื่อนการปฏิบัติงานในองค์กรด้วยโปรแกรม HR (HR Software) พัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารข้อมูลแบบใหม่ สำหรับองค์กรใหญ่ ๆ ที่มีจำนวนพนักงานอยู่มากมาย การจะจัดการข้อมูลการทำงานของแต่ละคน เพื่อพัฒนาและ […]

16 ก.พ. 2023

โปรแกรม HR ช่วยในการจัดการงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพ

โปรแกรม HR ผู้ช่วยในการจัดการงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โปรแกรม HR ระบบการควบคุมข้อมูลฝ่ายบุคคลสำหรับธุรกิจ SME โปรแกรม HR เริ่มเป็นที่รู้จักและนำมาใช้ภายในองค์กรต่าง ๆ มากขึ้น จนได้ชื่อว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของการดำเนินธุรกิจทุกระดับเป็นที่เรีย […]

16 มี.ค. 2023