…“หนังท้องเริ่มตึง หนังตาก็เริ่มหย่อน”… ชาวออฟฟิศหลายต่อหลายคนมักประสบปัญหาง่วงนอนหลังทานข้าวเที่ยง ส่งผลให้ทำงานได้ไม่กระฉับกระเฉง เชื่องช้า หมดกะจิตกะใจในการทำงาน ซึ่งจริง ๆ แล้วอาการเหล่านี้เรียกว่า “Food Coma” แล้วอาการ Food Coma เกิดขึ้นจากอะไร…?? Food Coma (ฟู้ดโคโม่) หรือ Postprandial Somnolence ที่มีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารจำพวกแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) มากจนเกินไป โดยอาหารมื้อที่ทำให้มีอาการง่วงหงาวหาวนอน ส่วนใหญ่จะมาจากอาหารมื้อเที่ยง ส่งผลให้ทำงานได้อย่างไม่เต็มที่ รวมถึงอาการอึดอัดและแน่นท้อง เมื่อร่างกายได้รับคาร์บมากเกินไป ทำให้อาหารจำพวกนี้ถูกย่อยกลายเป็นน้ำตาลกลูโคสและซูโคส สิ่งที่ตามมาก็คือปริมาณน้ำตาลในร่างกายจะสูงขึ้น พร้อมหลั่งฮอร์โมนอินซูลินขึ้นมา เพื่อเปลี่ยนให้น้ำตาลในร่างกายเป็นไขมัน และจะลดระดับน้ำตาลในเลือดให้กลับสู่สภาพปกติ ต่อมา…ร่างกายจะหลั่งสารเซโรโทนินส่งต่อไปยังต่อมไพเนียล ที่เป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วนกลาง และช่วยกระตุ้นสารเมลาโทนินหรือสารที่เกี่ยวกับการนอนหลับ ด้วยเหตุนี้นี่เองจึงทำให้เรารู้สึกง่วงนอนแม้จะเป็นช่วงกลางวันก็ตาม ซึ่งอาการเหล่านี้จะพบมากในเหล่ามนุษย์ออฟฟิศ วิธีการแก้ไขอาการ Food Coma หากไม่อยากมีอาการเหล่านี้ ควรปรับสมดุลของสารอาหารต่าง ๆ ในอาหารที่เลือกทานแต่ละมื้อ หลัก ๆ ก็คือการเลือกทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ นอกจากนี้ไทเกอร์ซอฟท์ยังนำวิธีอื่น ๆ ในการเลี่ยงอาการ Food Coma ดังนี้“Food Coma” กินตอนเที่ยง ง่วงตอนบ่าย เกิดขึ้นจากอะไร…มีวิธีรับมือหรือไม่…???
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม ข้าวขัดสี ขนมปังขัดสี และเมนูประเภทเส้นต่าง ๆ
- นอนหลับพักผ่อนในช่วงเวลากลางคืนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมง
- หลังทานอาหารกลางวันอิ่มแล้ว ควรออกกำลังกายเบา ๆ สักนิด เช่น การเดินไปมา หรือเดินขึ้น – ลงบันได เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า
- ดื่มน้ำให้มากตลอดวันเพื่อให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น หรือเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเย็น ๆ ให้เกิดการกระตุ้นร่างกาย ที่จะช่วยให้ตื่นตัวขึ้นมาบ้าง