ติดตาม TIGERSOFT ผ่านช่องทางต่างๆ
ระบบ ควบคุม control system
มิ.ย. 30, 2022

ด้วยสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 ที่แม้จะคลี่คลายลงบ้างแล้ว หลายคนเริ่มกลับไปทำงานตามปกติ แต่ไม่ได้หมายความว่าโรคนี้จะหายไปจากเรา เพราะยังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่เรื่อยๆ ทำให้เรายังต้องใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวังเช่นเดิม อาคารสำนักงานทั้งหลายยังคงเป็นสถานที่สุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดได้ ทำให้ผู้บริหารอาคารและสำนักงานต่างๆ ต้องเร่งหามาตรการป้องกัน ลดความเสี่ยงในการสัมผัสอุปกรณ์ส่วนกลางทั้งหลายให้มากที่สุด ระบบควบคุม Control System หรือระบบควบคุมการเข้าออกอาคาร จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อไวรัส โดยใช้ระบบ Access Control ที่ปลอดภัย

ระบบ ควบคุม control systemระบบ Access Control ที่ปลอดภัยเป็นอย่างไร

ระบบ Access Control หรือ ระบบควบคุมการเข้า-ออกแบบอัตโนมัติ เป็นระบบควบคุมการเข้าออกพื้นที่ต่างๆ ที่ใช้ในสำนักงานอาคารทั่วไป ซึ่งระบบเหล่านี้จะกำหนดสิทธิให้บุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นจึงจะสามารถผ่านเข้า-ออกพื้นที่นั้นได้ โดยการยืนยันตนก่อนผ่านเข้า-ออก มีหลายรูปแบบ เช่น ใช้กุญแจไข, ใช้บัตรแตะ, ใช้การกดรหัสบนดิจิตอลล็อก ใช้การสแกนนิ้วมือ สแกนใบหน้า เป็นต้น

ระบบ Access Control โดยปกติแล้วจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือระบบ Manual Systems และ Automatic Systems

  • Manual Systems (ระบบแมนนวล) เป็นการเปิดปิดประตูด้วยการสัมผัสโดยตรง เช่นการผลัก การดึงประตูให้เปิดออก เป็นต้น
  • Automatic Systems (ระบบออโต้) เป็นการเปิดปิดประตูแบบอัตโนมัติ หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อของ ประตูแบบ Touchless โดยหลังจากที่ทำการยืนยันสิทธิการเข้า-ออก อาทิ แตะบัตร การสแกนด้วยโทรศัพท์มือถือ การสแกนใบหน้า ฯลฯ ประตูจะทำการเปิดให้อัตโนมัติ เมื่อบุคคลที่ได้รับสิทธิ์ผ่านไปแล้วระบบจะปิดประตูทันที

ในทางปฏิบัติแล้วระบบแมนนวลมีความปลอดภัยสำหรับการเข้าออกของพนักงานหรือผู้มาติดต่อเช่นเดียวกันกับระบบออโต้ แต่ในการป้องกันโรคติดต่อ ระบบแมนนวลกลับกลายเป็นจุดเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อผ่านการสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของประตู แตกต่างจากระบบออโต้ที่ที่ค่อนข้างปลอดภัยเพราะแทบไม่มีส่วนใดแตะหรือสัมผัสกับประตู แต่ยังสามารถเก็บบันทึกข้อมูลการเข้าออกอาคารของพนักงานและผู้มาติดต่อได้

จุดใดบ้างที่มีความเสี่ยงต่อการสะสมเชื้อโรค

จุดที่มีความเสี่ยงต่อการสะสมเชื้อโรคมากที่สุด คือจุดที่มีการสัมผัสเพื่อเปิดประตู เช่น ลูกบิด ที่จับ บานประตู ฯลฯ หากมีผู้ติดเชื้อมาสัมผัสที่ลูกบิดหรือบานประตู ผู้ติดเชื้อจะทิ้งเชื้อไวรัสไว้บนพื้นผิว หากเราไปสัมผัสจะมีโอกาสที่จะกลายเป็นผู้ติดเชื้อในที่สุด

จุดที่รองลงมาคือจุดที่ต้องทำการ Access หรือ ยืนยันสิทธิ์การเข้า-ออก อาทิ ปุ่มกดรหัส จุดสแกนนิ้วมือ ฯลฯ ซึ่งการใช้ระบบสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตนก่อนเข้า-ออก จะช่วยลดความเสี่ยงนี้ลงได้มาก

แนวทางการป้องกันความเสี่ยงที่สมเหตุสมผล

แม้ว่าการแพร่กระจายของเชื้อโรคจะไม่ได้จำกัดอยู่แค่การสัมผัสร่วมกัน เพราะเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถแพร่กระจายผ่านทางอากาศหรือระบบปรับอากาศของอาคารได้ แต่การทำการฆ่าเชื้อที่ลูกบิด จุดสัมผัสที่ประตู หรือการหลีกเลี่ยงการงดสัมผัสจุดเสี่ยงต่างๆ ก็เป็นการป้องกันที่ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อได้มาก

 

ระบบ ควบคุม control systemระบบควบคุม Control System แบบลดสัมผัสคือคำตอบ

ระบบควบคุม Control System แบบลดสัมผัส หรือ Touchless สามารถช่วยลดการสัมผัสจุดเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อโรคอย่างได้ผล ซึ่งระบบที่ลดโอกาสสัมผัสได้ดีที่สุดในปัจจุบัน คือ ระบบเปิดปิดประตู ด้วยการสแกนใบหน้า ระบบสแกนมือถือ หรือสแกนบัตร เพราะระบบเหล่านี้ ผู้ใช้งานไม่ต้องสัมผัสกับอุปกรณ์หรือประตูเข้าออกโดยตรง ซึ่งอุปกรณ์ที่เป็นสื่อกลางเช่น บัตรผ่านเข้า-ออก หรือ โทรศัพท์มือถือ ต่างก็เป็นอุปกรณ์ส่วนตัวที่สามารถทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคได้ด้วยตนเอง

แม้ว่าโรคโควิด-19 จะยังไม่หายไป แต่เราทุกคนต่างต้องใช้ชีวิตอยู่กับโรคเหล่านี้ให้ได้ ดังนั้นการคัดกรองและการป้องกันเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อตั้งแต่ทางเข้าออก จึงเป็นหนึ่งมาตรการป้องกันโรคที่ช่วยให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้สะดวกขึ้น ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่างๆ อย่างได้ผล

 

ลดขั้นตอนเอกสารที่ยุ่งยากวุ่นวาย พร้อมพัฒนาศักยภาพขององค์กรได้เต็มที่ ด้วยโปรแกรม HRM

ลดขั้นตอนเอกสารที่ยุ่งยากวุ่นวาย พร้อมพัฒนาศักยภาพขององค์กรได้เต็มที่ ด้วยโปรแกรม HRM โปรแกรม HRM ตอบโจทย์ทุกฟังก์ชันของงาน HR อย่างครอบคลุม ความคุ้มค่าในหนึ่งเดียว งานบริหารจัดการบุคลากรในองค์กรบริษัททุกวันนี้ กำลังพัฒนาไปสู่โลกของการใช้เทคโนโลยีโปร […]

5 ก.ย. 2023

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับที่ 4 ลูกจ้างสามารถปฏิเสธ​การติดต่อ​นายจ้างได้

วันที่ 29 มีนาคม 2566 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน แก้ไข​เพิ่มเติม​ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566 ใจความเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน เพื่อยกระดับการคุ้มครองลูกจ้างให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและมีประสิทธิภาพมาก […]

22 มี.ค. 2023

2 ข้อแตกต่างระหว่าง “กองทุนเงินทดแทน” และ “กองทุนประกันสังคม” และข้อควรรู้

สงสัยกันหรือไม่ว่า “กองทุนเงินทดแทน” กับ “กองทุนประกันสังคม” คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เรามาไขคำตอบไปพร้อม ๆ

26 ก.พ. 2020