ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คู่มือฉบับสมบูรณ์สำหรับการยื่นภาษี 2024
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติแล้วจะจัดเก็บเป็นรายปี หลายๆ คนเมื่อมีรายได้จะกังวลว่าจะต้องยื่นภาษีหรือไม่ แล้วใครบ้างที่ต้องเสียภาษี หากคุณกำลังหาข้อมูลผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ใครบ้าง, ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคือใคร, ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือใคร, ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือใคร หรือ ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้แก่ใครบ้าง วันนี้ TigerSoft ผู้นำโปรแกรม HR อาสาพามาไขข้อข้องใจกัน!
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือใคร
ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมา โดยมีสถานะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
- บุคคลธรรมดา
- ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
- ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
- กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
- วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
เงินได้ประเภทใดต้องเสียภาษี
• เงินได้จากการจ้างงาน
เช่น เงินเดือน, ค่าล่วงเวลา, ค่าเบี้ยเลี้ยง, โบนัส เป็นต้น สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้หักได้เป็นลักษณะเหมาจ่าย
• เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
เช่น ค่าธรรมเนียม, ค่านายหน้า, เบี้ยประชุม เป็นต้น (แตกต่างจากประเภทที่ 1 คือ ประเภทที่ 2 เน้นความสำเร็จของงาน กล่าวคือ งานที่ตกลงทำต้องทำเสร็จจึงจะได้รับเงินได้ เป็นต้น) สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้หักได้เป็นลักษณะเหมาจ่าย
• เงินได้จากค่าลิขสิทธิ์, ค่ากู๊ดวิลล์
สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้หักได้เป็นลักษณะเหมาจ่าย
• เงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก, เงินปันผล
สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้หักได้เป็นลักษณะเหมาจ่าย
• เงินได้จากค่าเช่าทรัพย์สิน, ผิดสัญญาเช่า
สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้หักได้ จะมีทั้งลักษณะเหมาจ่าย และ ลักษณะตามที่จ่ายจริง
• เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
เช่น หมอ, นักบัญชี, นักกฎหมาย, สถาปนิก,วิศวกร เป็นต้น สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้หักได้ จะมีทั้งลักษณะเหมาจ่าย และ ลักษณะตามที่จ่ายจริง
• เงินได้จากการรับเหมา (มีการเตรียมจัดหาสัมภาระในการก่อสร้างเอง)
สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้หักได้ จะมีทั้งลักษณะเหมาจ่าย และ ลักษณะตามที่จ่ายจริง
• เงินได้จากการธุรกิจ, การพาณิชย์, เกษตรกรรม หรือ อื่นๆ
ที่ไม่เข้าเกณฑ์เงินได้ประเภทที่ 1-7 สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้หักได้ จะมีทั้งลักษณะเหมาจ่าย และ ลักษณะตามที่จ่ายจริง
เงินเดือนเท่าไหร่ถึงเสียภาษี
เงินเดือนไม่เกิน 10,000 = ไม่ต้องยื่นภาษี
เงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 = ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
เงินเดือนเกิน 26,583.33 = ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษีด้วย
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สามารถคำนวณจากเงินได้สุทธิ ซึ่งมีสูตรคำนวณเบื้องต้นคือ
(เงินได้ – ค่าใช้จ่าย) – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
สำหรับมนุษย์เงินเดือน กำหนดเวลายื่นภาษีบุคคลธรรมดาในช่วงเดือน มกราคม – มีนาคม ของปีภาษีถัดไป ลองศึกษาข้อมูลเรื่องภาษีไว้ และอย่าลืมยื่นภาษีให้ทันเวลา
ขอบคุณข้อมูลจาก: กรมสรรพากร และ iTax
โปรแกรมเงินเดือนช่วยจัดการภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับองค์กรที่ต้องการบริหารจัดการภาษีพนักงานอย่างเป็นระบบ โปรแกรมเงินเดือนจะช่วยคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายอัตโนมัติตามเกณฑ์กรมสรรพากร พร้อมออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) และแบบนำส่งภาษี ภ.ง.ด. 1 ได้อย่างถูกต้อง ระบบยังสามารถบันทึกข้อมูลค่าลดหย่อนภาษีของพนักงานแต่ละคน เช่น ประกันชีวิต กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินบริจาค ทำให้การคำนวณภาษีมีความแม่นยำและลดข้อผิดพลาดในการทำงานของฝ่าย HR
TigerSoft ผู้นำและผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชั่นงานทรัพยากรบุคคลที่มุ่งเน้นในการพัฒนาและให้บริการโปรแกรม HR (HR Software) และโปรแกรมเงินเดือนที่มีคุณภาพและใช้งานง่าย ครอบคลุมการจัดการทั้งระบบประวัติพนักงาน ระบบเงินเดือน การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประกันสังคม หนังสือรับรองการทำงาน และสวัสดิการ โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อทุกความต้องการในการใช้งานเอกสารสำคัญสำหรับพนักงานทุกคนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
สนใจหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โปรแกรม HR หรือ HR Software สามารถติดต่อไทเกอร์ซอฟท์ได้ที่
อ่านบทความอื่นๆของไทเกอร์ซอฟท์ คลิกที่นี่