สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณไม่มีความสุขกับการทำงาน
คงจะจริงของประโยคยอดฮิต “คับที่อยู่ง่าย คับใจอยู่ยาก” คล้าย ๆ กับการทำงานที่แม้จะสร้างความเห็นเหนื่อยให้ก็จริง แต่ถ้าเหนื่อยกายพักสักหน่อยก็คงจะหาย แจ่ถ้าเหนื่อยใจขึ้นมาล่ะก็…พักเท่าไหร่ก็คงจะไม่พอ
โดยใจความสำคัญที่จะพูดในบทความนี้ก็คือ ปัญหาของมนุษย์ออฟฟิศบางคนที่รู้สึกไม่อยากทำงาน ไม่มีกะจิตกะใจในการที่จะลุกไปออฟฟิศในทุก ๆ เช้า ซึ่งอาจเป็นเพราะปัจจัยต่าง ๆ ที่คุณต้องพบเจอในแต่ละวัน และคุณอาจไม่รู้ตัวว่างานที่กำลังทำนั้นส่งผลกระทบต่อจิตใจ จึงทำให้หมดไฟหรือหมดศรัทธากับงานที่กำลังทำอยู่
งั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าสัญญาณใดบ้าง ที่กำลังบอกว่างานเริ่มส่งผลกระทบและบั่นทอนสุขภาพจิต ดังนี้
1) กังวลเรื่องงานตลอดเวลา
แม้ว่าเลิกงานกลับบ้านเตรียมนอนแล้ว คุณก็ยังคิดเรื่องงานตลอดเวลา จริง ๆ ก็อาจเป็นเรื่องดีที่คุณโฟกัสกับงาน แต่นั่นจะส่งผลกระทบต่อการพักผ่อน ที่ควรจะเป็นช่วงเวลาผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ แต่คุณกลับนำมันมาคุกคามชีวิตส่วนตัว
2) ไม่อยากไปทำงานเลยสักวัน
หากไม่อยากลุกไปทำงานเพราะความเหนื่อยล้า นั่นถือเป็นเรื่องปกติทั่วไป แต่ถ้าตื่นขึ้นมาแล้วไม่อยากลุกไปทำงานเลยสักวัน นั่นอาจเป็นเพราะคุณไม่มีแรงในใจการลุกไปทำงาน ที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ในที่ทำงาน
3) เริ่มบ่นงานให้คนรอบข้างฟัง
ความอัดอั้นตันใจของการไม่มีความสุขกับงาน จะทำให้คุณอยากระบายเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานให้ผู้อื่นฟัง เพื่อเป็นการระบายความไม่สบายใจเหล่านั้น
4) มองข้ามเรื่องดีในที่ทำงาน
เมื่อคุณมีทัศนคติที่ไม่ดีกับงานไปแล้ว ไม่ว่าจะมีเรื่องดีเรื่องใดก็ตาม คุณจะไม่อินและมองข้ามเสมอ แต่ถ้าเกิดเรื่องไม่ดีขึ้นมาล่ะก็ จะจำฝังใจราวกับว่าไม่เคยมีเรื่องดี ๆ เกิดขึ้นเลย
5) รู้สึกเศร้าเมื่อถึงวันจันทร์หรือใกล้หมดวันหยุด
ใคร ๆ ก็เป็นกันทั้งนั้นสำหรับข้อนี้ แต่สำหรับบางคนที่ไม่อยากให้ถึงวันทำงานเร็ว ๆ เพราะไม่อยากกลับไปทำงานที่ไม่มีความสุข ซึ่งอาการเช่นนี้ไม่ว่าจะพักผ่อนมามากแค่ไหนก็ไม่เพียงพอ เพราะไม่มีความสุขกับงานมาก ๆ นั่นเอง
6) เจ็บป่วยจากการไม่สบายใจ
สุขภาพกายและสุขภาพจิตนั้นมีความเกี่ยวโยงกัน หากมีภาวะเครียดหรืออาการซึมเศร้า ก็สามารถส่งผลไปยังอาการทางกายได้ เช่น นอนหลับยาก ปวดศีรษะ กินไม่ลงหรือกินมากเกินไป รวมไปถึงระบบฮอร์โมนอีกด้วย
7) หงุดหงิดง่ายเมื่ออยู่ในที่ทำงาน
ความอดทนของคุณจะลดลงเป็นอย่างมาก เมื่อมีอะไรที่ทำให้ไม่พอใจนิดหน่อยก็จะรู้สึกว่าขวางหูขวางตาไปเสียหมด อีกทั้งยังหงุดหงิดง่ายกับเรื่องเล็กน้อย มักปล่อยให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผลเสมอ ซึ่งส่งผลกระทบต่องานอีกด้วย
8) ลาบ่อยเพราะไม่อยากทำงาน
เมื่อไม่มีความสุขกับการทำงาน แน่นอนว่าย่อมหาวิธีการหลีกเลี่ยงการไปทำงาน ด้วยการลางานบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นลาป่วย ลากิจ หรืออื่น ๆ ที่ทำเพื่อหนีปัญหา ซึ่งการหนีปัญหาเช่นนี้ก็คงไม่ทำให้อะไรดีขึ้น การลาออกจากงานจึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
9) ไม่สร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ
เหมือนกับว่าทำงานเพื่อให้ผ่านไปวัน ๆ ไม่สนใจว่างานจะออกมาดีหรือไม่ดี เพราะไม่มีเป้าหมายหรือแรงจูงใจในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ขอเพียงแค่ให้มีงานส่งก็เพียงพอแล้ว
หากใครที่กำลังประสบปัญหาเช่นนี้ ก็อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณไม่มีความสุขกับการทำงาน ดังนั้นจึงควรปรึกษาหัวหน้าหรือฝ่ายบุคคล เพื่อหาทางออกที่ดี หรือหากไปต่อไม่ได้แล้วจริง ๆ ก็ควรลองหาที่ทำงานใหม่ เพื่อสุขภาพจิตที่ดีขึ้น และไม่ส่งผลกระทบต่อเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก: mangozero
ซึ่งสรุปแล้วนั้น วิธีแก้ปัญหาการไม่มีความสุข และเพิ่มพูนรอยยิ้มในการทำงานเบื้องต้นนั้น สามารถทำได้ด้วยการนำระบบ KMS และระบบ KM มาใช้ในการรวบรวมและแชร์ประสบการณ์ในการทำงาน โดย knowledge sharing ในองค์กรจะช่วยให้พนักงานได้พูดคุย แลกเปลี่ยน ทั้งปัญหาและวิธีการแก้ไข ทำให้ฝ่าย HR สามารถนำข้อมูลจากระบบ knowledge management มาวิเคราะห์สาเหตุของความเครียดและความไม่พึงพอใจในการทำงาน เพื่อออกแบบโปรแกรม และพัฒนาศักยภาพของพนักงานพร้อมปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานได้ตรงจุด อีกทั้งยังช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจปัญหาที่แท้จริงและสามารถกำหนดนโยบายเพื่อเสริมสร้างความสุขในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล
พลิกโฉมงาน HR ให้มีประสิทธิภาพด้วยโปรแกรม HR ระบบทรงพลังในยุคดิจิทัลจาก TigerSoft เราคือผู้นำด้านโซลูชันงานออฟฟิศ งาน HR และงานบริหารทรัพยากรบุคคลของประเทศไทย พร้อมให้บริการจัดจำหน่ายเครื่องสแกนนิ้วมือ เครื่องบันทึกเวลา เครื่องสแกนหน้า โปรแกรม HR โปรแกรมเงินเดือน โปรแกรม Payroll โปรแกรม HR Online โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ และโปรแกรม HRM โปรแกรมที่ช่วยให้การบริหารทรัพยากรบุคคลภายในองค์กร ที่ถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับทุกองค์กรเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
สนใจระบบ โปรแกรม HR โปรแกรมเงินเดือน ที่มีประสิทธิภาพของไทเกอร์ซอฟท์ สามารถติดต่อไทเกอร์ซอฟท์ได้ที่
อ่านบทความอื่น ๆ จากไทเกอร์ซอฟท์ คลิกที่นี่