ถอดรหัส! 20 HR Trend 2025 ที่คนทำงานและเจ้าขององค์กรต้องรู้
ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างรวดเร็ว ตลาดแรงงานมีความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น ฝ่าย HR หรือฝ่ายจัดการทรัพยากรมนุษย์ ต้องเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีความไม่แน่นอน และความคาดหวังจากพนักงานที่สูงขึ้น โดยในปี 2025 HR จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจผ่านการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง ด้วยการใช้เทคโนโลยีมาเสริมประสิทธิภาพของการทำงาน และการพัฒนาทักษะของพนักงานอย่างต่อเนื่อง
ไม่เพียงแค่การสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถเท่านั้น แต่ HR ในอนาคตจะต้องมองไปที่การบริหารจัดการความหลากหลายของพนักงาน, การสร้างประสบการณ์การทำงานที่มีความหมายและเป็นส่วนตัวมากขึ้น และการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น AI, VR, และการวิเคราะห์ข้อมูล มาใช้ในการตัดสินใจและพัฒนาผลการปฏิบัติงานของพนักงาน
แนวโน้มสำคัญที่กำหนดทิศทางวงการ HR 2025
HR จะต้องให้ความสำคัญกับอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, การพัฒนา ผู้นำ และ ผู้จัดการ ที่มีทักษะในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง, การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ที่ตอบสนองความต้องการของพนักงานทุกยุคสมัย และการพัฒนากลยุทธ์ การวางแผนอัตรากำลังคน ให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับแนวโน้มของตลาดแรงงาน
20 HR Trend ในปี 2025 : คุณพร้อมที่จะรับมือแล้วหรือยัง ?
1. รูปแบบการทำงานแบบไฮบริด (Hybrid Work Models)
การทำงานแบบผสมผสาน Work from Anywhere จะเป็นมาตรฐานใหม่ โดย HR ต้องออกแบบนโยบายที่ยืดหยุ่น เพื่อรองรับทั้งในที่ทำงานและการทำงานจากที่บ้าน
2. การส่งเสริมสุขภาพพนักงาน (Employee Well-being Programs)
การลงทุนในสุขภาพจิตใจและร่างกายของพนักงาน เช่น โปรแกรมจัดการความเครียดและส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการดูแลพนักงานในยุคปัจจุบัน
3. การเรียนรู้และพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง (Continuous Learning and Upskilling)
การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พนักงานพร้อมรับมือกับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงในอนาคต
4. การปรับแต่งประสบการณ์ในงาน HR (Personalization in HR)
ออกแบบประสบการณ์ในที่ทำงานที่เฉพาะตัว เช่น การปรับสวัสดิการ หรือหน้าที่งานให้ตรงกับความต้องการแต่ละบุคคล
5. ความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการรวมตัว (Diversity, Equity, and Inclusion )
ด้วยการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดรับความหลากหลายและส่งเสริมความเท่าเทียมในที่ทำงาน
6. แนวปฏิบัติ HR แบบคล่องแคล่ว (Agile HR Practices)
นำวิธีการ Agile มาปรับใช้ใน HR เพื่อให้การจัดการทรัพยากรมนุษย์มีความรวดเร็วและยืดหยุ่น
7. การตัดสินใจโดยใช้ AI (AI-Driven Decision Making)
HR ยุคใหม่จะเริ่มนำ AI มาใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล และการตัดสินใจ เช่น การคาดการณ์การลาออกของพนักงานหรือการเลือก
ผู้สมัครที่เหมาะสม เป็นต้น
8. การจัดการแรงงานใน Gig Economy (Gig Economy Integration)
HR จะทำการจัดสรรการบริหารพนักงานฟรีแลนซ์ หรือพาร์ทไทม์ให้มีประสิทธิภาพและเข้ากับธุรกิจให้ได้มากที่สุด
9. การสร้างแบรนด์สำหรับนายจ้าง (Employer Branding)
ฝ่ายทรัพยากรบุคคลถือเป็นส่วนหนึ่ง ในการพัฒนาและสื่อสารภาพลักษณ์องค์กรที่ดี เพื่อดึงดูดผู้มีความสามารถ (Talent) ให้เข้ามาร่วมงานและสร้างความผูกพันกับองค์กรในระยะยาว
10. การทำงานด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป หรือระบบอัตโนมัติ (Automation of HR Tasks)
การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล หรืองาน HR ซึ่งจะช่วยให้งานที่ซ้ำซาก จำเจ ลดน้อยลง และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างมาก
11. ต้อนรับพนักงานใหม่ด้วยเทคโนโลยีที่จริงใจ (Remote Onboarding)
สร้างประสบการณ์ต้อนรับพนักงานใหม่ผ่านเทคโนโลยีที่สามารถทำได้จากที่บ้าน เช่น ระบบออนไลน์ที่ทำให้การฝึกอบรม และการแนะนำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
12. สนับสนุนให้พนักงานเป็นกระบอกเสียง (Employee Advocacy Programs)
HR ยุคใหม่ จะส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานเป็นทูตขององค์กรผ่านการใช้โซเชียลมีเดีย เพื่อช่วยในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและเพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์
13. สรรหาบุคลากรด้วยข้อมูล (Data-Driven Talent Acquisition)
เป็นการใช้ข้อมูลเชิงลึกจากการวิเคราะห์เพื่อทำการสรรหาบุคลากรที่เหมาะสมที่สุด และลดระยะเวลาในการหาคน
ที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการขององค์กร
14. สวัสดิการที่ยืดหยุ่น ปรับแต่งได้ (Flexible Benefit)
การปรับสวัสดิการให้สามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการของพนักงาน เช่น ระบบประกันสุขภาพที่สามารถปรับให้เหมาะสมเฉพาะแต่ละบุคคล
15. ฟีดแบคเรียลไทม์ (Real-Time Feedback)
การสร้างระบบการให้คำติชมแบบทันทีในที่ทำงาน เพื่อช่วยให้พนักงานสามารถปรับปรุงการทำงานได้อย่างรวดเร็วและเป็นไปตามมาตรฐาน
16. แผนสืบทอดตำแหน่งเชิงรุก (Proactive Succession Planning)
เป็นการเตรียมแผนการทำงาน สำหรับการสืบทอดตำแหน่งอย่างเชิงรุก โดยการฝึกอบรมผู้สืบทอดตำแหน่งล่วงหน้าเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในองค์กรให้ทันถ่วงที
17. รับผิดชอบต่อสังคม คือ No.1 (Social Responsibility Initiatives)
การผนวกภารกิจด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเข้ากับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เช่น การส่งเสริมกิจกรรมอาสาสมัครและการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
18. การบริหารคนที่หลากหลายระหว่าง Generational
เป็นการจัดการความหลากหลายของพนักงานที่มีความแตกต่างในแต่เจเนอเรชั่นในองค์กร เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรและส่งเสริมการทำงานร่วมกันในเชิงบวก
19. ฝึกอบรมด้วย VR (Virtual Reality Training)
ด้วยการใช้เทคโนโลยี Virtual Reality ในการฝึกอบรม เพื่อให้พนักงานได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่สมจริงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
20. การวิเคราะห์ และคาดการณ์ในเชิงลึก (HR Analytics for Predictive Insights)
เป็นการใช้ข้อมูลเพื่อคาดการณ์แนวโน้มของการทำงานและพฤติกรรมของพนักงาน เช่น การคาดการณ์อัตราการลาออก หรือความสามารถในการปรับตัวของพนักงาน
เพราะการติดตามเทรนด์เหล่านี้ไม่เพียงแค่ช่วยให้ HR สามารถตอบสนองต่อความท้าทายในปัจจุบันได้ แต่ยังช่วยให้องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและเติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคต...
กยศ. เอาจริง! เตรียมหักหนี้ผู้กู้ที่เป็นลูกจ้างเอกชนผ่านบัญชีเงินเดือน
กยศ. เอาจริง! เตรียมหักหนี้ผู้กู้ที่เป็นลูกจ้างเอกชนผ่านบัญชีเงินเดือน กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. เดินหน้ามาตรการหักเงินเดือนลูกจ้างบริษัทเอกชนและข้าราชการในปี 2564 จำนวน 1.8 ล้านราย โดยเป็นบริษัทธุรกิจเอกชนและหน่วยงานรายการรวมแล้วกว่า 1 […]
3 สิทธิใหม่ประกันสังคมปี 2566
ประกันสังคมแจ้งสาเหตุในการมอบสิทธิใหม่ให้แก่ผู้ประกันตนเพิ่มอีก 3 สิทธิ เพื่อให้ครอบคลุมการดูแลบริการและสิทธิประโยชน์ของแรงงานทุกกลุ่มทุกวัย กระทรวงแรงงาน โดย นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ส่ […]
ลดภาระการทำเงินเดือน ด้วยโปรแกรมเงินเดือน
ลดภาระการทำเงินเดือนของแผนก Payroll ด้วยโปรแกรมเงินเดือน บริหารจัดการข้อมูลเงินเดือนในองค์กรด้วยโปรแกรมเงินเดือน (โปรแกรม payroll) การลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับองค์กร เพื่อความก้าวหน้าอย่างไม่มีสิ้นสุด ภาระงานของ HR หรือผู้บริหารในปัจจุบันถือว่าไม่ใ […]