ว่าด้วยเรื่องการเสียภาษี
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติแล้วจะจัดเก็บเป็นรายปี หลายๆ คนเมื่อมีรายได้จะกังวลว่าจะต้องยื่นภาษีหรือไม่ แล้วใครบ้างที่ต้องเสียภาษี หากคุณกำลังหาข้อมูลผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ใครบ้าง, ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคือใคร, ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือใคร, ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือใคร หรือ ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้แก่ใครบ้าง วันนี้ TigerSoft ผู้นำโปรแกรม HR อาสาพามาไขข้อข้องใจกัน!
ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมา โดยมีสถานะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
- บุคคลธรรมดา
- ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
- ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
- กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
- วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
เงินได้ประเภทใดต้องเสียภาษี
เงินได้จากการจ้างงาน
เช่น เงินเดือน, ค่าล่วงเวลา, ค่าเบี้ยเลี้ยง, โบนัส เป็นต้น สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้หักได้เป็นลักษณะเหมาจ่าย
เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
เช่น ค่าธรรมเนียม, ค่านายหน้า, เบี้ยประชุม เป็นต้น (แตกต่างจากประเภทที่ 1 คือ ประเภทที่ 2 เน้นความสำเร็จของงาน กล่าวคือ งานที่ตกลงทำต้องทำเสร็จจึงจะได้รับเงินได้ เป็นต้น) สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้หักได้เป็นลักษณะเหมาจ่าย
เงินได้จากค่าลิขสิทธิ์, ค่ากู๊ดวิลล์
สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้หักได้เป็นลักษณะเหมาจ่าย
เงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก, เงินปันผล
สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้หักได้เป็นลักษณะเหมาจ่าย
เงินได้จากค่าเช่าทรัพย์สิน, ผิดสัญญาเช่า
สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้หักได้ จะมีทั้งลักษณะเหมาจ่าย และ ลักษณะตามที่จ่ายจริง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
เช่น หมอ, นักบัญชี, นักกฎหมาย, สถาปนิก,วิศวกร เป็นต้น สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้หักได้ จะมีทั้งลักษณะเหมาจ่าย และ ลักษณะตามที่จ่ายจริง
เงินได้จากการรับเหมา (มีการเตรียมจัดหาสัมภาระในการก่อสร้างเอง)
สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้หักได้ จะมีทั้งลักษณะเหมาจ่าย และ ลักษณะตามที่จ่ายจริง
เงินได้จากการธุรกิจ, การพาณิชย์, เกษตรกรรม หรือ อื่นๆ
ที่ไม่เข้าเกณฑ์เงินได้ประเภทที่ 1-7 สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้หักได้ จะมีทั้งลักษณะเหมาจ่าย และ ลักษณะตามที่จ่ายจริง
เงินเดือนเท่าไหร่ถึงเสียภาษี
เงินเดือนไม่เกิน 10,000 = ไม่ต้องยื่นภาษี
เงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 = ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
เงินเดือนเกิน 26,583.33 = ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษีด้วย
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สามารถคำนวณจากเงินได้สุทธิ ซึ่งมีสูตรคำนวณเบื้องต้นคือ
(เงินได้ – ค่าใช้จ่าย) – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
สำหรับมนุษย์เงินเดือน กำหนดเวลายื่นภาษีบุคคลธรรมดาในช่วงเดือน มกราคม – มีนาคม ของปีภาษีถัดไป ลองศึกษาข้อมูลเรื่องภาษีไว้ และอย่าลืมยื่นภาษีให้ทันเวลา
ขอบคุณข้อมูลจาก: กรมสรรพากร และ iTax
TigerSoft ผู้นำและผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชั่นงานทรัพยากรบุคคลที่มุ่งเน้นในการพัฒนาและให้บริการโปรแกรม HR (HR Software) และโปรแกรมเงินเดือนที่มีคุณภาพและใช้งานง่าย ครอบคลุมการจัดการทั้งระบบประวัติพนักงาน ระบบเงินเดือน การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประกันสังคม หนังสือรับรองการทำงาน และสวัสดิการ โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อทุกความต้องการในการใช้งานเอกสารสำคัญสำหรับพนักงานทุกคนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
สนใจหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โปรแกรม HR หรือ HR Software สามารถติดต่อไทเกอร์ซอฟท์ได้ที่
อ่านบทความอื่นๆของไทเกอร์ซอฟท์ คลิกที่นี่