ภาษีป้ายคืออะไร ต้องจ่ายอย่างไร?
ป้ายต่าง ๆ กับภาษีที่ตามมา
เมื่อนานมาแล้ว เราเคยมีข่าวเกี่ยวกับ “ป้าทุบรถ” ที่เป็นที่นิยมในโลกโซเชียลมากที่สุดอยู่พักหนึ่ง และยังคงเป็นกระแสให้ผู้คนพูดถึงอยู่เรื่อยมา แต่ในข่าวอันสุดแสนโกลาหลนี้ มีบางคนสงสัยถึงป้ายที่ติดหน้าบ้านของหญิงสมาชิกที่ถูกรถที่จอดขวางทาง ว่าเป็นป้ายที่ไม่ต้องจ่ายภาษีหรือไม่? หลังจากนั้น สมาชิกผู้นั้นได้อธิบายว่าป้ายหน้าบ้านของเธอไม่ต้องเสียภาษีป้าย ทำให้ผู้คนสงสัยว่าป้ายชนิดใดจึงต้องเสียภาษีบ้าง?
ผ่านไปหลายยุคสมัย เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและภาคเศรษฐกิจ ทำให้การจัดเก็บภาษีป้ายนั้นมีความเปลี่ยนแปลงไประดับหนึ่งเลยทีเดียว ดังนั้นทางไทเกอร์ซอฟท์จึขอชวนมารีวิวและทำความรู้จักกับ “ภาษีป้าย” ผ่านบทความนี้ ที่ช่วยจะอธิบายให้คุณได้ได้อย่างชัดเจน
ป้ายใดบ้างที่ต้องเสียภาษี?
กฎหมายระบุว่าป้ายที่ต้องเสียภาษีประกอบด้วยป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือกิจการอื่น ๆ เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น ๆ ในขณะเดียวกัน ป้ายบางประเภทยังได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษี ทั้งนี้ได้มีการประกาศเปลี่ยน และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ประกาศโดยกระทรวงหมาดไทยเพื่อแก้ไขอัตราการเก็บภาษีให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน
ขั้นตอนการยื่นเสียภาษีป้าย
1. ตรวจสอบความปลอดภัยในการติดตั้งป้าย
ก่อนที่คุณจะติดตั้งป้ายหน้าร้าน อย่าลืมว่าป้ายเป็นสิ่งที่สำคัญ คุณสามารถทำเองหรือจ้างให้ทำ แต่ก่อนที่คุณจะนำป้ายไปติดตั้ง คุณต้องไปแจ้งรายละเอียดของป้ายที่สำนักงานเขตหรืออำเภอก่อน เพื่อขออนุญาตติดตั้งกับทางสำนักงานเขต เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบลที่คุณอาศัยอยู่ เพื่อให้พนักงานมาตรวจสอบก่อนว่าลักษณะของป้ายของคุณสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนหรือไม่
2. เตรียมเอกสารที่จำเป็นให้ครบ ได้แก่
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษี
- เลขที่ทะเบียนการค้า
- หนังสือรับรองบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (กรณีนิติบุคคล)
- รูปถ่ายป้าย พร้อมขนาดกว้าง x ยาว
- ใบอนุญาตติดตั้งป้าย หรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย
สำหรับการชำระภาษี คุณเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองป้ายจะต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี และชำระภายในเดือนมีนาคม แต่หากคุณติดตั้งป้ายใหม่หรือเปลี่ยนแปลงข้อความของป้าย คุณต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ติดตั้งใหม่ หรือที่เปลี่ยนแปลงข้อความของป้ายใหม่
อัตราค่าภาษีป้ายในปี 2567
ประเภทที่ 1 : ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน
(ก) ป้ายที่สามารถเปลี่ยนข้อความหรือเคลื่อนที่ได้ จะต้องเสียภาษีป้ายในอัตรา 10 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
(ข) ป้ายที่ไม่เป็นป้ายเปลี่ยนหรือเคลื่อนที่ จะต้องเสียภาษีป้ายในอัตรา 5 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ประเภทที่ 2 : ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ (รวมถึงเลขอารบิก) หรือมีอักษรไทยปนกับภาพ และ/หรือเครื่องหมายอื่นๆ โดยอักษรไทยต้องอยู่บนสุด
(ก) ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย ภาพที่เปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นๆ จะต้องเสียภาษีป้ายในอัตรา 52 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
(ข) ป้ายทั่วไปที่ไม่มีข้อความ เครื่องหมาย ภาพที่เปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นๆ จะต้องเสียภาษีป้ายในอัตรา 26 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ประเภทที่ 3 : ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆ หรือป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
(ก) ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นๆ จะต้องเสียภาษีป้ายในอัตรา 52 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
(ข) ป้ายที่ไม่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นๆ จะต้องเสียภาษีป้ายในอัตรา 50 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ทั้งนี้ ป้ายทุกประเภทเมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท
เมื่อคำนวณอัตราภาษีป้ายจากประเภทของป้ายที่ได้มาแล้ว สิ่งที่คุณควรทราบคือการชำระเงินจะไม่ต้องจ่ายเต็มจำนวนตามที่คำนวณได้เสมอ แต่จะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ติดตั้งป้ายด้วย เนื่องจากการติดตั้งในแต่ละช่วงเวลาจะมีการกำหนดการชำระเงินภาษีป้ายที่แตกต่างกัน ดังนี้
- หากติดตั้งในช่วงเดือน มกราคม – มีนาคม คุณต้องชำระเงินภาษีป้ายเต็มจำนวน 100%
- หากติดตั้งในช่วงเดือน เมษายน – มิถุนายน คุณต้องชำระเงินภาษีป้าย 75% ของอัตราภาษีป้ายทั้งปี
- หากติดตั้งในช่วงเดือน กรกฎาคม – กันยายน คุณต้องชำระเงินภาษีป้าย 50% ของอัตราภาษีป้ายทั้งปี
- หากติดตั้งในช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม คุณต้องชำระเงินภาษีป้าย 25% ของอัตราภาษีป้ายทั้งปี
บทลงโทษหากไม่จ่ายภาษีป้าย
แม้ภาษีป้ายจะมีอัตราค่าชำระอยู่ไม่มากแต่อย่างไรก็ตามยังมีบางคนที่หลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีอยู่ กฎหมายก็ได้กำหนดโทษบุคคลจำพวกนี้ ตามลำดับความผิดดังต่อไปนี้
- ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ยื่นแบบภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี
- ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ชำระเงินค่าภาษีภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ของค่าภาษี
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องแสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานประกอบการค้า หรือประกอบกิจการ
และนี่ก็คือระเบียบการโดยย่อเกี่ยวกับการชำระภาษีป้าย นับว่าเป็นอีกเรื่องเล็กๆที่ไม่ควรมองข้ามไปเรื่องหนึ่งเลยก็ว่าได้ ดังนั้นสำหรับใครมีกิจการหน้าร้าน ก็ควรให้ตรวจสอบข้อมูลภาษีป้ายกับบทความนี้อีกครั้ง เพื่อจะได้แน่ใจด้วยว่ากิจการของคุณได้ดำเนินตามกฎหมายทุกข้ออย่างไร้ข้อตกหล่นใดๆ ขอขอบคุณข้อมูลจากกระทรวงสรรพากร กระทรวงหมาดไทย
TigerSoft ให้บริการโซลูชัน HR ครบวงจร ครอบคลุมทั้ง Software เช่น โปรแกรมเงินเดือน โปรแกรม Payroll โปรแกรมบริหารงานทรัพยากรบุคคล HR Software โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ โปรแกรม HRM และ Hardware เช่น เครื่องสแกนนิ้วมือ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ เครื่องบันทึกเวลา Turnstile (Access Control ประตู) ช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมี โปรแกรม ERP Oracle (ระบบบริหารทรัพยากรองค์กร ERP) และโปรแกรม SAP ERP ซึ่งเป็นระบบ ERP ดีที่สุดในประเทศไทย ให้บริการติดตั้งโดยฮิวแมนิก้า ช่วยยกระดับการทำงานและการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตได้อย่างมั่นคง
สนใจหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โปรแกรม HR หรือ HR Software สามารถติดต่อไทเกอร์ซอฟท์ได้ที่
อ่านบทความอื่นๆจากไทเกอร์ซอฟท์ คลิกที่นี่
ระบบสแกนนิ้วมือ คืออะไร
ระบบสแกนนิ้วมือ คือ ระบบที่ต้องใช้ลายนิ้วมือยืนยันในการขออนุญาตเข้าถึงข้อมูล เข้าถึงสถานที่ต่าง ๆ หรือ เข้าใช้งานระบบที่ต้องยืนยันตัวบุคคลต่าง ๆ หากบุคคลนั้นไม่ได้มีการบันทึกลายนิ้วมือเอาไว้ ก็จะทำให้ไม่สามารถเข้าใช้งานในส่วนนั้น ๆ ได้ ถือเป็นการรักษ […]
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยโปรแกรม HR ที่รองรับระบบสแกนตามอัตลักษณ์เฉพาะบุคคล
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยโปรแกรม HR ที่รองรับระบบสแกนตามอัตลักษณ์เฉพาะบุคคล รวม 9 เคล็ดลับในการเลือกโปรแกรม HR ที่รองรับระบบสแกนตามอัตลักษณ์เฉพาะบุคคล มาใช้งานภายในองค์กร ทุกวันนี้ ในหลาย ๆ องค์กรได้มีการนำเทคโนโลยีโปรแกรม HR ที่รองรับการทำงานของร […]
เครื่องกั้นทางเดิน Turnstile ระบบเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ควบคุมทางเข้า Access Control
เครื่องกั้นทางเดิน Turnstile ระบบเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ควบคุมทางเข้า Access Control อัพเกรดระบบความปลอดภัยประตู Access Control ด้วยเครื่องกั้นทางเดิน Turnstile ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีอัจฉริยะ นวัตกรรมเทคโนโลยีประตู Access Control ด้วยเครื่องกั้นทางเดิน T […]