6 เทรนด์ HR ที่ควรจับตามองปี 2021
ปี 2020 ที่ผ่านมา…นับว่าเป็นปีที่เหนือคำบรรยายสุด ๆ สำหรับพวกเราชาว HR หรือฝ่ายบุคคล ทั้งการออกนโยบายด้านการทำงานทางไกล การทำงานที่บ้าน (Work from Home) หรือการทำงานสื่อสารผ่าน Zoom, Skype หรือ Slack รวมถึงการซัพพอร์ตพนักงานในด้านต่าง ๆ
นับได้ว่าการดำเนินธุรกิจในยุค COVID-19 นั้นถือเป็นเรื่องที่ยากมาก และทำให้เราเห็นได้ชัดว่า ‘เทคโนโลยี’ กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ รวมถึงโปรแกรมเพื่องาน HR อีกด้วย
วันนี้ไทเกอร์ซอฟท์จึงขอนำ 6 เทรนด์ HR ที่น่าจับตามองในปี 2021 มาฝากชาว HR กันค่ะ
- สุขภาพของพนักงาน
แม้ปีก่อน ๆ อาจมีการพูดถึงเรื่องสุขภาพของพนักงานบ้าง แต่ปี 2020 บริษัทต่าง ๆ จะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสอบถาม หรือการติดต่อหาพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งให้ความสำคัญทั้งร่างกายและจิตใจ
ในปีนี้หลายบริษัทก็เริ่มมีโปรแกรมสุขภาพและสวัสดิการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำให้พนักงานมีความสุข และส่งเสริมให้องค์กรเติบโตขึ้น เช่น
- การดูแลสภาพจิตใจผ่านระบบออนไลน์
- ความเป็นอยู่ด้านการเงิน
- สมดุลชีวิตและการทำงาน
- การตอบแทนสังคม
- อื่น ๆ ฯลฯ
นอกจากนี้ทุกองค์กรยังควรปรับเปลี่ยนแก้ไขนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวสิทธิของพนักงาน ให้สอดคล้องกับการทำงานของพนักงาน และความต้องการที่เปลี่ยนไป
- การทำงานทางไกล
สมัยก่อน…การเปลี่ยนระบบทำงานมาเป็นการทำงานทางไกลมักส่งผลกระทบกับบริษัท หลายธุรกิจจึงไม่อยากให้พนักงานทำงานทางไกล 1 – 2 วันต่อสัปดาห์ แต่ในปี 2021 ความคิดเหล่านี้จะค่อย ๆ หมดไป
ยกตัวอย่างองค์กรใหญ่อย่าง Twitter ก็อนุญาตให้ทำงานที่บ้านแบบถาวร โดยบริษัทอื่น ๆ ก็เริ่มมีการใช้นโยบายนี้ด้วยเช่นกัน
- การจ้าง Outsource
บางบริษัทมองว่าการการดำเนินธุรกิจ อาจไม่จำเป็นต้องใช้พนักงานประจำเสมอไป แต่สามารถเปลี่ยนมาใช้การจ้าง Outsource แทนได้
เพราะสามารถเลือกคนทำงานที่มีความสามารถ และเหมาะสมกับงานแต่ละโปรเจกต์ที่เข้ามา โดยสามารถจ้างงานในลักษณะนี้ควบคู่ไปกับพนักงานประจำได้ ซึ่งจะช่วยลดช่องโหว่ของการทำงาน หรือช่วยให้มีคนทำงานในตำแหน่งที่หาคนทำได้ยากในระยะยาว
- การจัดกะงานด้วยตัวเอง
แม้ว่าเทรนด์ HR ใหม่ ๆ จะเริ่มส่งเสริมให้มีการทำงานทางไกล แต่ต้องไม่ลืมว่ามีพนักงานอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถทำงานที่บ้านได้ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม หรือโรงพยาบาล เป็นต้น
ดังนั้นบริษัทจึงควรปรับปรุงกระบวนการการจัดการกะงาน เพื่อให้พนักงานสามารถปรับเปลี่ยนกะงานได้ด้วยตนเอง โดยให้สามารถทำเองด้วยซอฟต์แวร์หรือฮาร์แวร์ที่ทันสมัย แทนการต้องทำเองที่บริษัท
- การทำ Virtual Onboarding
ปี 2020 มีบริษัทหลายแห่งเลิกจ้างพนักงานเป็นจำนวนมาก แต่ในปี 2021 นี้ ก็อาจมีตำแหน่งงานที่เพิ่มมากขึ้น แต่บริษัทจะต้องหาทางทำ onboarding สำหรับพนักงานใหม่ที่ไม่เคยเจอกันมาก่อน และพนักงานใหม่เองก็ไม่ได้พบเจอพนักงานคนอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
โดยต้องมีการนำส่งอุปกรณ์เครื่องใช้ IT ที่จำเป็นไปติดตั้งให้เหมาะสมและเรียบร้อย รวมถึงการช่วยให้พนักงานสามารถเข้าร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้ง่าย จากนั้นจะต้องมีการแบ่งเวลามาถามไถ่พนักงานใหม่อยู่เสมอ ทั้งเรื่องงานและการทำความรู้จักด้วยเรื่องที่ไม่ได้เกี่ยวกับงาน
ดังนั้น HR จึงจำเป็นต้องมีแผนสำหรับ onboarding และหากทำออกมาได้ดีก็จะช่วยให้พนักงานอยากร่วมงานกับองค์กร
- การฝึกอบรมและเพิ่มทักษะ
หลายธุรกิจต้องมีการปรับเปลี่ยนหลายสิ่งอย่างื่อความอยู่รอด เช่น สถานบันเทิงที่เปลี่ยนมาเป็นร้านขายอาหาร Delivery หรือโรงกลั่นเหล้าที่หันมาผลิตน้ำยาทำความสะอาดแทน
แต่การที่จะหลุดโฟกัสไปทำอะไรหลาย ๆ อย่าง แน่นอนว่าจะต้องมีการฝึกอบรมและเพิ่มทักษะให้กับพนักงาน เพื่อให้มีความสามารถในการร่วมพาธุรกิจให้ไปต่อได้
ด้วยเหตุนี้ HR ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยผลักดันธุรกิจให้ก้าวสู่ความสำเร็จ แต่ก็เป็นเรื่องที่ยากพอสมควรทั้ง HR และพนักงานทุกคน
ดังนั้น HR จะต้องให้ความสำคัญกับเทรนด์เทคโนโลยีด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล เพื่อการปรับเปลี่ยนในหลาย ๆ สิ่ง และพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามา