ระบบ KMS (Knowledge Management System) ระบบจัดการความรู้ออนไลน์ที่คู่ควรกับทุกองค์กร
ข้อดีของการมีระบบ KMS (Knowledge Management System) ในองค์กร
ทุกองค์กรมีความรู้ภายในองค์กรที่มีคุณค่าอย่างประเมินค่าไม่ได้ หลายๆ องค์กรปล่อยให้ความรู้เหล่านั้นกระจุกอยู่แค่กับคนเพียงกลุ่มเดียว โดยเฉพาะความรู้เชิงเทคนิคเฉพาะทาง ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับบุคลากรกลุ่มอื่นๆ ที่จะสามารถเข้าถึงทักษะเหล่านั้นได้
ระบบ KMS หรือ Knowledge Management System การจัดการองค์ความรู้ในองค์กรที่เป็นทั้งความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และ ความรู้จากประสบการณ์การทำงานของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน มารวบรวมจัดเก็บไว้ในที่เดียว พร้อมดูแลให้ข้อมูลมีการอัปเดตที่เป็นปัจจุบัน และทันสมัยอยู่เสมอ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเหลือในการจัดระบบให้เป็นระเบียบ เพื่อการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลความรู้ที่สำคัญต่อการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ของการทำงานให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
ข้อดีของการมีระบบ KMS (Knowledge Management System) ในองค์กร
1. พนักงานสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ ที่ต้องใช้ในการทำงานได้ทันที
ปัญหาการทำงานของหลายๆ องค์กรที่ไม่มีการจัดการองค์ความรู้ เมื่อบุคลากรผู้มีความเชี่ยวชาญเกษียณอายุ หรือ ลาออก มักสร้างผลกระทบให้กับการทำงานอย่างมาก เนื่องจากพนักงานที่มีอยู่ ไม่เคยได้เรียนรู้ทักษะ หรือ ได้รับการแบ่งปันเทคนิคในการทำงานที่มีประสิทธิภาพมาก่อนหน้านี้เลย ซึ่งหากองค์กรสามารถนำความรู้ในตัวบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ มาถ่ายทอดความรู้จัดเก็บเข้าในระบบ KMS (Knowledge Management System) ความรู้เหล่านั้นก็จะสามารถถ่ายทอดต่อๆ ไปได้อย่างไม่จำกัด เมื่อประสบปัญหาในการทำงาน ก็จะสามารถติดตามขอข้อมูลความรู้ได้ทันที และองค์ความรู้เหล่านั้นยังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานให้ดีขึ้นได้อีกด้วย
2. พนักงานสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว และเพิ่มความแม่นยำในการตัดสินใจ
หลายครั้งความผิดพลาดจากการทำงานเกิดขึ้นจากการตัดสินใจที่ล่าช้า หรือ ตัดสินใจผิด จะดีแค่ไหนหากทุกการตัดสินใจสำคัญของการทำงาน ล้วนมาจากการใช้ความรู้ที่ดีที่สุดที่มีอยู่ภายในองค์กร ด้วยระบบ KMS (Knowledge Management System) ที่มีข้อมูลให้พร้อมใช้งาน จะช่วยประหยัดเวลาตัดสินใจ ทำให้งานสามารถเดินหน้าต่อได้โดยไม่สะดุด สิ่งสำคัญคือ การดึงข้อมูลองค์ความรู้เหล่านี้ออกมาจัดวางให้เป็นระบบ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้
3. ระบบ KMS (Knowledge Management System) เพิ่มความได้เปรียบทางธุรกิจ
ความรู้ภายในองค์กรนั้นมีคุณค่าอย่างประเมินค่าไม่ได้ สามารถนำไปใช้ต่อยอดในการสร้างโอกาสใหม่ๆ ด้วยมุมมองที่แตกต่างกันของผู้ได้รับความรู้เหล่านั้น ซึ่งจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้งาน เพื่อสร้างความแตกต่างในทางธุรกิจให้เหนือกว่าคู่แข่งได้ อีกทั้งความรู้ในองค์กรที่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ จะไม่หยุดอยู่นิ่งกับที่ มีการจัดการความรู้ใหม่ๆ ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอแบบเรียลไทม์ เพิ่มความมั่นใจได้ว่าชุดความรู้ที่องค์กรมีอยู่ จะทันต่อสถานการณ์โลก และเป็นเวอร์ชันที่ดีที่สุดอยู่เสมอ เพื่อการสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้อย่างแท้จริง
4. ยกระดับวัฒนธรรมองค์กรให้มีความใฝ่รู้ เสริมสร้างความเชี่ยวชาญของพนักงาน
หลายๆ องค์กรมีข้อมูลและสารสนเทศอย่างท่วมท้นมากมาย แต่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง เนื่องจากการเข้าถึงข้อมูลที่ยากลำบาก ไม่เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน หรือ ข้อมูลสารสนเทศเหล่านั้นไปอยู่กับพนักงานคนใดคนหนึ่ง ไม่ได้รับการเผยแพร่อย่างที่ควรจะเป็น ระบบจัดการความรู้ในองค์กร หรือ KMS ช่วยให้เกิดการสื่อสารข้อมูลสำคัญภายในองค์กรอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว พนักงานทุกระดับชั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างอิสระ เพิ่มความรู้และทักษะใหม่ๆ เพื่อให้เกิดเป็นประโยชน์ในการทำงานอย่างสูงสุด โดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเรียนรู้ถูกผิดด้วยตัวเอง ประหยัดเวลาในการทำงานและทรัพยากรได้มากกว่า
5. เพิ่มความมั่นคงให้กับองค์กรในด้านการปฏิบัติงานของบุคลากร
ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัยปัญหาหนักใจที่หลายองค์กรต้องเจอ คือ เมื่อถึงเวลาหนึ่ง บุคลากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญขององค์กรมีเหตุจำเป็นให้ต้องออกจากองค์กร จะไม่สามารถหาผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นมาทดแทนได้ หากไม่มีการแชร์องค์ความรู้กันในองค์กรมาตั้งแต่ต้น ซึ่งจะทำให้หลายๆ ปัญหาไม่สามารถแก้ไขสะสางได้ ด้วยการขาดความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ กลายเป็นความเสี่ยงของการเกิดภาพลักษณ์ในเชิงลบ ทำให้องค์กรดูไม่มีความเป็นมืออาชีพได้
ระบบ KMS (Knowledge Management System) ช่วยดึงเอาความรู้และทักษะสำคัญที่อยู่ในตัวของบุคคลๆ เดียว ให้ถ่ายทอดและจัดเก็บไว้เป็นข้อมูลสำคัญที่ทุกคนสามารถเปิดอ่านศึกษาได้ ซึ่งจะทำให้องค์กรยังคงมีความรู้เฉพาะทางที่สำคัญ และสามารถนำมาใช้ในองค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แม้บุคคลผู้ถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นจะจากองค์กรไปแล้วก็ตาม
องค์กรที่มีการจัดการความรู้ภายในองค์กรไว้อย่างเป็นระบบนั้น จะได้เปรียบเหนือกว่าองค์กรที่ไม่มีการจัดการองค์ความรู้เลยอย่างแน่นอน จึงไม่แปลกใจว่าองค์กรธุรกิจระดับชั้นนำมากมาย หันมาจัดทำระบบ KMS หรือ
Knowledge Management System ให้กับองค์กรของตัวเองกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับระบบการทำงาน และอีกทางหนึ่งคือการสร้างผลประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อตัวบุคลากร อันจะสร้างผลประโยชน์ต่อยอดให้กับองค์กรได้อีกยาวไกล
เลือกทำระบบ KMS (Knowledge Management System) กับผู้นำด้านบริการ Office Solution โดยเฉพาะ TIGERSOFT พาคุณแปลงโฉมองค์กร ให้เป็นองค์กรแห่งอนาคตที่ทรงประสิทธิภาพด้วยองค์ความรู้ กับระบบ SmartKMS ระบบการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร Knowledge Management System (KMS) ที่สามารถจัดเก็บทุกองค์ความรู้ภายในองค์กร เพื่อให้นำออกมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยระบบซอฟต์แวร์ที่ภูกคิดค้นออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจโดยเฉพาะ
SmartKMS จาก TIGERSOFT รองรับทุกแพลตฟอร์มการเข้าถึง และยังเชื่อมต่อกับโปรแกรมต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย เพิ่มความสมบูรณ์แบบในการใช้งานได้อย่างสูงสุด ช่วยดึงศักยภาพการทำงานในองค์กรของคุณให้ไปถึงได้ทุกเป้าหมายความสำเร็จ
สนใจหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Tigersoft
สามารถติดต่อไทเกอร์ซอฟท์ได้ที่