ความสำคัญของระบบ KM (Knowledge Management) ที่ทุกองค์กรต้องมี
พาองค์กรยืนหยัดอยู่รอดได้ ในทุกสภาวะการเปลี่ยนแปลง ด้วยระบบ KM (Knowledge Management)
บุคลากรในองค์กรทุกคน ต่างมีความรู้ที่สั่งสมมา ไม่ว่าจะเป็นความรู้จากการศึกษาเล่าเรียน หรือ ความรู้จากประสบการณ์โดยตรง ยิ่งทำงานหลากหลาย ก็จะยิ่งมีประสบการณ์ความรู้หลายด้าน ซึ่งความรู้เหล่านั้นสามารถถ่ายทอด เพื่อสร้างความเชี่ยวชำนาญต่อบุคคลอื่นๆ รวมถึงการนำความรู้ไปใช้ต่อยอดสร้างผลประโยชน์ให้กับองค์กรได้อย่างคาดไม่ถึง
หากเราสามารถดึงเอาความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่ในตัวของแต่ละบุคคลออกมาแบ่งปันกัน และร่วมกันทำงานด้วยองค์ความรู้ที่มีอย่างเป็นมืออาชีพ แน่นอนว่าองค์กรจะเกิดความก้าวหน้า และอาจเติบโตแบบก้าวกระโดดได้อย่างไม่ยากเลย ความรู้ภายในองค์กรจะตอกรากฐานขององค์กรให้มั่นคง สามารถอยู่รอดได้ในทุกสภาวะแวดล้อมของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ความสามารถในการจัดการองค์ความรู้ในองค์กรได้เป็นอย่างดี จะเป็นหนทางสู่การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ความสำคัญของระบบ KM (Knowledge Management) ต่อการสร้างผลผลิตในองค์กร
ลองนึกภาพองค์กรแห่งหนึ่ง ที่บุคลากรทุกคนในองค์กรมีความรู้ในการดำเนินงานต่างๆอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน รู้ถึงกระบวนการทำงานของฝ่ายอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน้าที่ของตัวเอง ทั้งในทางตรงและทางอ้อม แน่นอนว่าความรู้ความเข้าใจเหล่านั้น จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ไปสู่วิธีที่ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งกว่า ตอบโจทย์ได้มากกว่า และช่วยให้ผลผลิตออกมาได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
ระบบ KM (Knowledge Management) จะเข้ามามีบทบาทในการยกระดับวัฒนธรรมในองค์กร ด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ได้จากการเพิ่มพูนองค์ความรู้เดิม ไม่จำกัดหรือตีกรอบจำกัดเฉพาะความรู้ที่ควรทราบเท่านั้น แต่ยังสามารถเข้าถึงทุกความรู้ที่เกี่ยวข้องและต้องการเรียนรู้ ทำให้เกิดความเข้าใจในการทำงานของฝ่ายอื่นๆ เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ดีในส่วนการทำงานของตัวเองมากขึ้นด้วย
ระบบ KM (Knowledge Management) เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกคนสามารถเข้าไปเรียนรู้ และใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้เหล่านั้นได้ในทันที ซึ่งความรู้บางอย่างก็เป็นสิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้ เมื่อความรู้เหล่านั้นได้ไปอยู่กับบุคลากรที่มีวิสัยทัศน์ใหม่ๆ ก็จะสามารถต่อยอดความรู้เดิม สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และชิ้นผลงานที่เหนือความคาดหมายได้
ความสำคัญของระบบ KM (Knowledge Management) ต่อบุคลากรในองค์กร
ระบบ KM (Knowledge Management) เป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาศักยภาพของบุคลากร และเสริมสร้างทักษะในการทำงานใหม่ๆ ให้กับพนักงาน ยกระดับความรู้ความสามารถของพนักงานรายบุคคล ให้มีการผลิตผลงานที่มีความเชี่ยวชำนาญมากยิ่งขึ้น ฝีมือดีขึ้น องค์กรที่มีการจัดการระบบ KM (Knowledge Management) จะกระตุ้นให้บุคลากรในองค์กรเกิดการเรียนรู้ สร้างวัฒนธรรมให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ฝึกการค้นคว้าจนเป็นนิสัย บุคลากรต่างยอมรับฟังความคิดเห็น ตลอดจนการแบ่งปัน แลกเปลี่ยน ถ่ายทอดความรู้ให้ซึ่งกันและกัน เพื่อการร่วมมือสู่การทำงานอย่างมืออาชีพ สร้างความสามัคคีให้กับบุคลากรที่เป็นหัวใจสำคัญขององค์กร
ในระบบ KM (Knowledge Management) ไม่ว่าจะเป็นการสะสมองค์ความรู้ การจัดเก็บ หรือ การแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ ล้วนเป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ทำให้บุคลากรมีความพร้อมในการปรับปรุงตัวเองเพื่อเพิ่มทักษะใหม่ๆ อยู่เสมอ ในขณะเดียวกันการเข้าถึงความรู้ได้อย่างอิสระ ยังช่วยในการเพิ่มศักยภาพเกี่ยวกับการตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
ความสำคัญของระบบ KM (Knowledge Management) ต่อตัวองค์กร
แท้จริงแล้วการจัดการความรู้ภายในองค์กร หรือ Knowledge Management เกิดขึ้นจากการค้นพบปัญหาที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ในเรื่องของการสูญเสียบุคลากรไป เมื่อบุคลากรที่มีความเชี่ยวชำนาญต้องออกจากองค์กรอย่างถาวร ส่งผลให้องค์กรต้องสูญเสียความรู้ไปด้วย บุคลากรที่เหลืออยู่ไม่สามารถแก้ไขปัญหา หรือ ตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เพราะขาดองค์ความรู้ที่ไปกระจุกอยู่ในตัวบุคคลเดียว
ดังนั้นแล้วการจัดทำระบบ KM หรือ Knowledge Management นั้น มีความสำคัญอย่างมากต่อความมั่นคงขององค์กร เมื่อต้องสูญเสียบุคลากรคนใดคนหนึ่งไป องค์กรจะต้องไม่ถูกสั่นคลอน ฟันเฟืองการทำงานจะยังคงหมุนได้อย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพเฉกเช่นเดิม เพื่อให้องค์กรมีความพร้อมสำหรับทุกการแข่งขัน และสามารถปรับตัวเพื่อความอยู่รอดได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องอาศัยความรู้ภายในองค์กรเข้ามาช่วยเหลือ และระบบ KM (Knowledge Management) นี้เองที่จะเป็นตัวช่วยเพิ่มความมั่นคงให้กับรากฐานขององค์กรได้อย่างยั่งยืน
การพัฒนาความมั่นคงขององค์กร นอกจากการจัดทำองค์ความรู้ในองค์กรแล้ว สิ่งสำคัญคือความรู้ขององค์กรที่รวมรวบได้ จะต้องมีการวางแผนจัดการอย่างเป็นระบบและเหมาะสม สร้างที่เก็บและสร้างเครือข่ายให้กับความรู้เหล่านั้น โดยใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ สามารถจัดเก็บองค์ความรู้ขนาดใหญ่ให้เข้ามาอยู่ภายใต้ระบบเดียวกันได้ และมีขั้นตอนการใช้งานที่พนักงานทุกคนสามารถติดตามทุกข้อมูลความรู้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เพื่อใช้ในการตัดสินใจ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
SmartKMS ระบบ Knowledge Management System หรือ ระบบ KMS จาก TIGERSOFT ระบบการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร ที่จะช่วยยกระดับการจัดการองค์ความรู้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น บุคลากรเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ทุกเวลา ด้วยการรองรับการใช้งานอย่างครอบคลุม ทั้งแพลตฟอร์มสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ มั่นใจในระบบการรักษาความปลอดภัยด้วยการจัดเก็บบนระบบ Cloud
อัพเกรดองค์กรของคุณ ให้เป็นหนึ่งในองค์กรที่ก้าวล้ำเทคโนโลยี ด้วยระบบการจัดการองค์ความรู้องค์กรออนไลน์ SmartKMS จัดการฐานข้อมูลทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ได้อย่างอยู่หมัด ผลักดันองค์กรคุณให้เติบโตก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืน
สนใจหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Tigersoft
สามารถติดต่อไทเกอร์ซอฟท์ได้ที่