ทำความรู้จัก! Biometric วิธีรักษาข้อมูลให้ปลอดภัยที่สุดในโลก
ในยุคดิจิทัลที่ทุกคนต้องใช้งานระบบต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนกันมากขึ้น ทำให้เกิดความกังวลใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy) ที่มีความเสี่ยงต่อการถูก Hack การขโมยข้อมูล หรือการปลอมแปลงข้อมูล ค่อนข้างสูง แม้ระบบรักษาความปลอดภัยในปัจจุบันได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่แสนสำคัญ แต่ในบางครั้งความผิดพลาดหรือความประมาทที่เกิดขึ้นจากผู้ใช้ ทำให้มิจฉาชีพสามารถขโมยบัตรผ่านหรือ Password ของผู้ใช้งานไปก่อความเสียหายตามข่าวที่เราได้พบเห็นอยู่เสมอ ทำให้มีการคิดค้นเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยที่เรียกว่า Biometric ซึ่งเข้ามาเป็นทางเลือกใหม่กับทุกองค์กร ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาความปลอดภัย
Biometric คืออะไร?
Biometric คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการ ระบุตัวตน หรือ ยืนยันอัตลักษณ์ตัวบุคคล (Personal identity) และตรวจพิสูจน์ผู้ใช้ (Verification) โดยเป็นการผสมผสานกันระหว่าง เทคโนโลยีทางด้านชีวภาพและทางการแพทย์ รวมเข้ากับเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน โดยตรวจวัดลักษณะทางกายภาพ (Physical) และพฤติกรรม (Behavioral Characteristics) ที่เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละคน นำมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบความแตกต่างเพื่อใช้ในการระบุตัวบุคคลนั้นๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ทำให้ Biometric มีความปลอดภัยสูง ยากต่อการปลอมแปลงหรือการขโมยไปใช้ โดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องพกบัตรหรือจดจำรหัสผ่านให้วุ่นวาย ซึ่ง Biometric ไม่ได้จำกัดแค่การใช้ลายนิ้วมือเท่านั้น แต่ Biometric ยังสามารถใช้ เสียง, ลายเซ็น, พฤติกรรมการพิมพ์, ลายฝ่ามือ, ม่านตา, เรตินา, ใบหน้า, ดีเอ็นเอ หรือแม้แต่ การจดจํารูปแบบหลอดเลือดดํา (Vein Pattern) เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนได้อีกด้วย
ในปัจจุบันเทคโนโลยี Biometric ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งเราสามารถพบเห็นเทคโนโลยีนี้อยู่รายล้อมรอบตัวเรามากมาย ตั้งแต่การสแกนนิ้วมือ หรือใบหน้า เพื่อใช้ยืนยันตัวตนในการเดินทางเข้าออกไปยังต่างประเทศ หรือบนสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ๆ ที่มีเทคโนโลยีสแกนลายนิ้วมือ หรือสแกนม่านตาเพื่อปลดล็อคเครื่อง หรือแม้แต่ในสำนักงานขององค์กรทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ต่างก็นำเอาเทคโนโลยี Biometric มาใช้เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและทรัพย์สินภายในบริษัท ด้วยการติดตั้งระบบสแกนนิ้ว หรือสแกนม่านตาที่ประตูทางเข้าออกของห้อง Server หรือสถานที่เก็บข้อมูลสำคัญอีกด้วย
วิธีการรักษาข้อมูลองค์กรให้ปลอดภัย
ในปัจจุบันการปกป้องข้อมูลขององค์กรให้ปลอดภัยที่นิยมใช้ในองค์กรต่าง ๆ จะมีอยู่ 3 วิธีดังนี้
1. Data backups
Data backups คือ การสำรองข้อมูลขององค์กร เพื่อลดความเสี่ยงที่ข้อมูลจะสูญหายไปทั้งหมด จากการถูกโจมตีด้วยไวรัส หรือการถูกลบข้อมูลโดยไม่ตั้งใจ วิธีนี้เป็นวิธีปกป้องข้อมูลให้ปลอดภัยจากการสูญหายที่ง่ายที่สุด เมื่อเกิดปัญหาใด ๆ กับข้อมูลต้นฉบับ ผู้เกี่ยวข้องจะสามารถดึงข้อมูลที่ Backup ไว้มาเขียนทับและใช้งานแทนได้ในทันที ซึ่งการทำ Data backups สามารถจัดเก็บข้อมูลสำรองได้หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกข้อมูลลงในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์จำพวก External Hardisk ที่มีความจุสูง, เครื่อง Server ขององค์กร หรือการ Backup ข้อมูลผ่านระบบ Cloud Backup ที่ข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งไปเก็บรักษายัง Server ของผู้ให้บริการ Cloud ที่มีความปลอดภัยสูง ซึ่งสามารถเลือกให้เหมาะสมกับขนาดของข้อมูลและความต้องการขององค์กร
2. A Virtual Private Network
A Virtual Private Network หรือ เครือข่ายเสมือนส่วนตัว (VPN) เป็นฟังก์ชันหนึ่งของระบบ Network ที่องค์กรสามารถสร้างระบบเครือข่ายแบบจำลองขึ้นมา เพื่อให้คนในองค์กรสามารถรับส่งข้อมูลภายในองค์กรจากระยะไกลได้แม้ไม่ได้อยู่ในสำนักงาน เหมาะกับองค์กรที่มีเครือข่ายสาขาที่ต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสำนักงานใหญ่และสาขาย่อยต่าง ๆ อยู่เสมอ ซึ่ง A Virtual Private Network จะช่วยให้สาขาย่อยได้รับข้อมูลจากสำนักงานใหญ่ได้โดยไม่ต้องส่งคนเข้าไปที่สำนักงานใหญ่เพื่อขอข้อมูลหรือ ต้องเสียเวลารอการแจ้งข้อมูล ทำให้สะดวกและปลอดภัยเหมือนรับส่งข้อมูลอยู่ภายในบริษัท ระบบ A Virtual Private Network เป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูง เพราะไม่ได้เป็นการเชื่อมต่อแบบสาธารณะ ทำให้มีเพียงคนในองค์กรเท่านั้นที่สามารถเข้าใช้งานได้ ทำให้ A Virtual Private Network เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ปลอดภัย และเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกองค์กรควรต้องมี
3. Reliable Application
Reliable Application หรือ แอปพลิเคชันที่เชื่อถือได้ ปัจจุบันมีหลายคนที่ใช้สมาร์ทโฟนในการทำงาน โดยมีแอปพลิเคชันมากมายที่เราสามารถดาวน์โหลดมาใช้ แต่ก็ยังมีอีกหลายแอปพลิเคชันที่ไม่ปลอดภัยหรือเป็นแอปพลิเคชันปลอมเพื่อหลอกขโมยข้อมูล หรือแพร่มัลแวร์ให้กับสมาร์ทโฟนของเรา ดังนั้นเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลขององค์กรให้ปลอดภัย จึงหลีกเลี่ยงการติดตั้ง แอปพลิเคชันที่ไม่ได้อยู่บน Official Store อย่าง App Store ของ iOS หรือ Google Play ของ Android เพราะเสี่ยงที่จะเจอกับแอปพลิเคชันปลอม นอกเสียจากจะเป็นแอปพลิเคชันที่จัดทำขึ้นมาเฉพาะการใช้งานขององค์กรเท่านั้นที่แผนกไอทีให้ดาวน์โหลดและติดตั้งในเครื่องได้
สรุปข้อดีของ Biometric
ซึ่งทั้ง 3 วิธีที่กล่าวมานี้สามารถช่วยปกป้องข้อมูลขององค์กรให้ปลอดภัยได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะหลายครั้งที่การรักษาข้อมูลขององค์กรให้ปลอดภัย กลับเกิดปัญหาจากตัวผู้ใช้งานเอง อาทิ เผลอกดลบข้อมูลโดยลืมที่จะ Backups หรือ Backups ไม่ทัน, ผู้ใช้งานถูกขโมยรหัสผ่านสำหรับเข้าใช้งาน A Virtual Private Network เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยี Biometric จะเข้ามาอุดช่องโหว่ตรงจุดนี้ได้อย่างมิดชิด เพราะไม่มีใครสามารถขโมยอัตลักษณ์ส่วนบุคคล หรือนำไปใช้ได้ง่าย ๆ เหมือนในหนัง ทำให้เทคโนโลยี Biometric เป็นเทคโนโลยีรักษาข้อมูลขององค์กรให้ปลอดภัยได้มากที่สุดในขณะนี้
‘หนังสือรับรองการทำงาน’ สำคัญจริงไหม?
‘หนังสือรับรองงาน’ สำคัญจริงไหม? ควรขอ HR ตอนไหน และในเอกสารต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง! วันนี้ไทเกอร์ซอฟท์ มีคำตอบ 📣 หนังสือรับรองการทำงาน Employment Certificate หรือ Work Reference ถือเป็นเอกสารที่ช่วยยืนยันประสบการณ์การทำงานของแต่ละบุคคล ซึ่ง […]
พาองค์กรธุรกิจก้าวสู่โลกดิจิทัลด้วยระบบ HR Cloud เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร
พาองค์กรธุรกิจก้าวสู่โลกดิจิทัลด้วยระบบ HR Cloud เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร ความรู้จักระบบ HR Cloud กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จขององค์กรธุรกิจ สภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์โลก ทำให้ฝ่าย HR ต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานให้ทันก […]
จะโดนไล่ออกจากงาน? นี่คือ 8 พฤติกรรมที่คุณควรหลีกเลี่ยง
งานบริษัทถือเป็นสิ่งที่หายาก และมีคนอีกมากที่ยังเตะฝุ่นว่างงานเพราะเหตุผลต่าง ๆ แต่การมีงานประจำทำก็ใช่ว่าจะอุ่นใจได้ เพราะคุณอาจถูกโดนไล่ออกจากงาน หากประพฤติตัวที่ไม่เหมาะสม!