ว่าด้วยเรื่องการจ้างงานเด็กกับนายจ้าง
ในอดีตการจ้างแรงงานเด็กไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย อย่างที่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ต่างทราบดีว่า เคยมีโศกนาฏกรรมที่โลกไม่อยากจดจำจากการใช้แรงงานเด็กเกิดขึ้นในยุโรป เพราะธรรมชาติของเด็กยังมีกำลังและพลังงานที่จำกัด ไม่สามารถทำงานได้เท่าผู้ใหญ่โตเต็มวัย ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีกฎหมายออกมาให้ความคุ้มครองแรงงานเด็ก วันนี้เราจะมาเรียนรู้กฎหมายการใช้แรงงานเด็กกันสักนิด เพื่อให้ฝ่ายบริหารงานบุคคลปฏิบัติตามได้ถูกต้อง
กฎหมายแรงงานเด็กทำงานอย่างไร
ตัวกฎหมายนั้นจะให้ความคุ้มครองเยาวชนอายุตั้งแต่ 15 ปีซึ่งเป็นวัยที่สามารถทำงานได้ ดังต่อไปนี้
1. ห้ามนายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นลูกจ้าง
2. กรณี ที่มีการจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นลูกจ้าง นายจ้างต้องแจ้งต่อพนักงาน ตรวจแรงงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่ เด็กเข้าทำงาน และแจ้งการสิ้นสุดการ จ้างเด็กนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่เด็กออกจากงาน นายจ้างต้องจัดให้มีเวลาพัก 1 ชั่วโมงต่อวันภายใน 4 ชั่วโมงแรกของ การทำงาน และให้มีเวลาพักย่อยได้ตามที่นายจ้างกำหนด
3. ห้ามนายจ้างใช้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในระหว่างเวลา 22.00 – 06.00 น. เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี
4. ห้ามนายจ้างใช้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานล่วงเวลา
5. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานต่อไปนี้
- งานหลอม เป่า หล่อ หรือรีดโลหะ
- งานปั๊มโลหะ
- งานเกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน เสียงและแสง ที่มีระดับแตกต่างจากปกติอันอาจเป็นอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- งานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- งานเกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษซึ่งอาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา หรือเชื้ออื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- งานเกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่งานในสถานี บริการที่เป็นเชื้อเพลิงตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
-
งานขับหรือบังคับรถยกหรือปั้นจั่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
งานใช้เลื่อยเดินด้วยพลังไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์ - งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ, ในถ้ำ อุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา
- งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- งานทำความสะอาดเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่กำลังทำงาน
- งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
- งานอื่นตามที่กำหนดในกระทรวง
6. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในสถานที่ต่อไปนี้
- โรงฆ่าสัตว์
- สถานที่เล่นการพนัน
- สถานที่เต้นรำ รำวง หรือ รองเง็ง
- สถาน ที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่ม อย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกจ้าง หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอน หรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า
- สถานที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
7. ห้ามนายจ้างจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กแก่บุคคลอื่น
8. ห้ามนายจ้างเรียก/หรือรับ เงินประกันจากฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นเด็ก
9. ลูกจ้าง ซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี มีสิทธิลาเพื่อเข้าประชุม สัมมนา รับการอบรม รับการฝึก หรือลาเพื่อการอื่น ซึ่งจัดโดยสถานศึกษา หรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ที่อธิบดีเห็นชอบ และให้นายจ้าง จ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างเด็กเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน
ทั้งนี้หากใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่ตั้งไว้ อาจได้รับโทษสูงสุด คือถูกปรับเงินเป็นจำนวนมากถึง 800,000 บาท เพราะกฎหมายเปิดโอกาสให้เยาวชนทำงานรับจ้างได้ แต่ไม่เปิดโอกาสให้นายจ้างเอารัดเอาเปรียบผู้ที่อ่อนแอและยังเป็นเยาวชนอยู่ได้แน่นอน
ขอบคุณข้อมูลจาก www.mol.go.th
อ่านบทความเพิ่มเติมจากไทเกอร์ซอฟท์ คลิกที่นี่