ติดตาม TIGERSOFT ผ่านช่องทางต่างๆ
พ.ย. 30, 2020

เงินชราภาพ คืออะไร

“เงินชราภาพ” คือสิ่งที่ผู้ประกันตนจะได้รับ เพื่อสร้างความมั่นคงในช่วงชีวิตหลังเกษียณอายุ แต่ก็จะมีเงื่อนไขในการรับโดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตน แต่กฎหมายยังมิได้เปิดให้ผู้ประกันตนเลือกรูปแบบการรับเงินเอง โดยเงินชราภาพจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

 

ประเภทของเงินชราภาพ

เงินบำนาญชราภาพ

มีเงื่อนไขการได้รับเงิน ดังนี้

  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน
  • อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  • สิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน หรือออกจากงาน

[ กรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 180 เดือน ]

มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือน ในอัตรา 20% ของค่าจ้าง เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ ก่อนสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน

[ กรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน ]

ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพอีกในอัตรา 1.5% ต่อ ระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน

 

เงินบำเหน็จชราภาพ

มีเงื่อนไขการได้รับเงิน ดังนี้

  • จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน
  • สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
  • อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

[ กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ]

ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ

[ กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ]

ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ

[ กรณีที่ผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 6 เดือน ]

นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

 

หลักฐานการยื่นขอเงินชราภาพ มีอะไรบ้าง

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01) *กรณีผู้ประกันตนขอคืนเงินชราภาพด้วยตัวเอง*
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอฯ (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) *กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย และทายาทเป็นผู้ขอรับสิทธิ์เงินชราภาพแทน*
  • สำเนามรณบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย
  • สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิ์รับเงินชราภาพ
  • สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดา (ถ้ามี)
  • สำเนาสูติบัตรของบุตรหรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร
  • หนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิ์รับเงินบำเหน็จชราภาพ (ถ้ามี)
  • สำเนาสูติบัตรของบุตรหรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร

 

ผู้ประกันตนหรือทายาทที่มีสิทธิ์ สามารถยื่นขอรับเงินชราภาพพร้อมแนบหลักฐานต่าง ๆ ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ บริเวณกระทรวงสาธารณสุข) หรือยื่นผ่านทางไปรษณีย์

ท่านใดมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th หรือสายด่วนประกันสังคม 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงการติดต่อโดยตรงได้ที่ สำนักประกันสังคมพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ


ขอบคุณข้อมูล: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

อ่านบทความอื่น ๆ จากไทเกอร์ซอฟท์ คลิกที่นี่

ลดขั้นตอนเอกสารที่ยุ่งยากวุ่นวาย พร้อมพัฒนาศักยภาพขององค์กรได้เต็มที่ ด้วยโปรแกรม HRM

ลดขั้นตอนเอกสารที่ยุ่งยากวุ่นวาย พร้อมพัฒนาศักยภาพขององค์กรได้เต็มที่ ด้วยโปรแกรม HRM โปรแกรม HRM ตอบโจทย์ทุกฟังก์ชันของงาน HR อย่างครอบคลุม ความคุ้มค่าในหนึ่งเดียว งานบริหารจัดการบุคลากรในองค์กรบริษัททุกวันนี้ กำลังพัฒนาไปสู่โลกของการใช้เทคโนโลยีโปร […]

5 ก.ย. 2023

6 วิธีประชุมอย่างไรให้คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป

6 วิธีประชุมอย่างไรให้คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป แผนการทำงานในแต่ละวันอาจต้องสะดุดลงด้วยการประชุมด่วน แต่พอถึงเวลาประชุมจริง ๆ กลับเข้าไปนั่งหงอย ไม่มีปากไม่มีเสียงใด ๆ แถมจะทำงานที่ทำอยู่ก็ไม่ได้ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นการประชุมที่เราจะไม่ค่อยได้อะไร มีแ […]

27 ม.ค. 2020

การเลือกใช้โปรแกรม HR ฉบับมือโปร!

เทคนิคการเลือกใช้โปรแกรม HR ฉบับมือโปร! แนะนำหลักการเลือกใช้โปรแกรม HR ที่เหมาะสมกับองค์กรของคุณ ระบบการจัดการข้อมูล HR ในปัจจุบัน เรียกได้ว่าเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินงาน และบริหารจัดการทรัพยากรในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ลดภาระค่าใช้จ่าย ภาระงา […]

24 พ.ค. 2023