ติดตาม TIGERSOFT ผ่านช่องทางต่างๆ
ก.พ. 28, 2018

ภาพรวม ภาษีป้าย

ป้ายต่าง ๆ กับภาษีที่ตามมา

ข่าว “ป้าทุบรถ” ที่โด่งดังในโลกโซเชียลเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ยังคงเป็นประเด็นร้อนให้พูดถึงกันอยู่จนวันนี้ ล่าสุดมีบางคนหลงประเด็นไปถึงเรื่องป้ายที่ติดหน้าบ้านของหญิงเจ้าทุกข์ที่ถูกรถจอดขวางหน้าบ้าน ว่าอาจเป็นป้ายที่หลีกเลี่ยงจ่ายภาษีป้ายหรือไม่? ซึ่งต่อมาทางเจ้าทุกข์ก็ได้อธิบายว่าป้ายหน้าบ้านของตนนั้นไม่เข้าข่ายเสียภาษีป้าย นี่เองทำให้หลายคนเกิดข้อข้องใจว่าแล้วป้ายชนิดใดจึงเข้าข่ายต้องเสียบ้าง? บทความนี้จะขออธิบายเกี่ยวกับภาษีป้ายให้เข้าใจกระจ่างชัดกันเอง

ป้ายอย่างใดจึงเข้าข่ายเสียต้องภาษี? กฎหมายกำหนดให้ป้ายที่ต้องเสียภาษี ประกอบด้วยป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่น ๆเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น  ขณะเดียวกันป้ายบางประเภทก็ได้รับการคุ้มครองให้ยกเว้นจากการเสียภาษี ซึ่งสามารถตรวจเช็คได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th

ขั้นตอนการยื่นเสียภาษีป้าย
ตรวจสอบความปลอดภัยของการติดตั้งป้าย

แน่นอนว่าก่อนตั้งร้านสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือป้ายหน้าร้าน ซึ่งเจ้าของร้านอาจทำเองหรือจ้างทำ แต่ก่อนที่จะนำป้ายไปติดตั้ง จะต้องไปแจ้งรายละเอียดของป้ายที่สำนักงานเขตหรืออำเภอก่อน เพื่อขอคำอนุญาตติดตั้งกับทางสำนักงานเขต เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบลที่เราอาศัยอยู่เพื่อให้เข้ามาตรวจสอบก่อนว่าลักษณะป้ายของเรานั้น สร้างความเดือดร้อนที่ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนหรือไม่

ยื่นเอกสารประกอบเพื่อยื่นชำระภาษี

หลักฐานและเอกสารที่ต้องนำไปประกอบเพื่อยื่นชำระภาษีมีดังต่อไปนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • หนังสือรับรองห้างหุ้นส่วน
  • ใบอนุญาตติดตั้งป้าย หรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย

เมื่อเตรียมเอกสารทั้งหมดพร้อมแล้ว เจ้าของป้ายนั้นจะต้องนำเอกสารและหลักฐานไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป. 1) ที่สำนักงานเขตหรืออำเภอ โดยพนักงานจะดำเนินการได้ 2 กรณี คือ

  1. พร้อมชำระภาษีป้ายได้ทันที
  2. ไม่พร้อมชำระภาษีทันที ซึ่งจะเข้าข่ายกรณีใดนั้นขึ้นอยู่กับการประเมินของเจ้าหน้าที่

สำหรับการชำระภาษีนั้นผู้เป็นเจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายจะต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี และชำระภายในเดือนมีนาคม แต่หากมีการติดตั้งป้ายใหม่หรือเปลี่ยนแปลงข้อความของป้าย จะต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ติดตั้งใหม่ หรือที่เปลี่ยนแปลงข้อความของป้ายใหม่

 

อัตราค่าภาษีป้าย

ป้ายที่เราเห็นทั่วไปนั้นแบ่งออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะและขนาดของป้ายดังนี้

  • ป้ายประเภทที่ 1 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน ให้คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
  • ป้ายประเภทที่ 2 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพและเครื่องหมายอื่น ให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
  • ป้ายประเภทที่ 3 หมายถึง (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย หรือ (ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตรเมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียค่าภาษีป้ายละ 200 บาท
  • ป้ายประเภทที่ 4 หมายถึง ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีแล้ว อันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้คิดอัตราตาม (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี และให้เสียเฉพาะจำนวนเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น

ป้ายทุกประเภทเมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท

 

บทลงโทษหากไม่จ่ายภาษีป้าย

แม้ภาษีป้ายจะมีอัตราค่าชำระอยู่ไม่มากแต่อย่างไรก็ตามยังมีบางคนที่หลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีอยู่ กฎหมายก็ได้กำหนดโทษบุคคลจำพวกนี้ ตามลำดับความผิดดังต่อไปนี้

  • ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ยื่นแบบภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี
  • ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ชำระเงินค่าภาษีภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ของค่าภาษี
  • ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องแสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานประกอบการค้า หรือประกอบกิจการ

และนี่ก็คือระเบียบการโดยย่อเกี่ยวกับการชำระภาษีป้าย นับว่าเป็นอีกเรื่องเล็กๆที่ไม่ควรมองข้ามไปเรื่องหนึ่งเลยก็ว่าได้ ดังนั้นสำหรับใครมีกิจการหน้าร้าน ก็ควรให้ตรวจสอบข้อมูลภาษีป้ายกับบทความนี้อีกครั้ง เพื่อจะได้แน่ใจด้วยว่ากิจการของคุณได้ดำเนินตามกฎหมายทุกข้ออย่างไร้ข้อตกหล่นใดๆ


ขอบคุณข้อมูลจาก www.rd.go.th

TigerSoft ผู้นำและผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชั่นงานทรัพยากรบุคคลสำหรับธุรกิจ SME ที่มุ่งเน้นในการพัฒนาและให้บริการโปรแกรม HR (HR Software) และโปรแกรมเงินเดือนที่มีคุณภาพและใช้งานง่าย สามารถจัดการข้อมูลประวัติพนักงาน ระบบเงินเดือน การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประกันสังคม หนังสือรับรองการทำงาน และสวัสดิการ ครอบคลุมอย่างครบถ้วน ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็วและสะดวก ตอบสนองต่อทุกความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

TigerSoft ให้บริการโซลูชัน HR ครบวงจร ครอบคลุมทั้ง Software เช่น โปรแกรมเงินเดือน โปรแกรม Payroll โปรแกรมบริหารงานทรัพยากรบุคคล HR Software โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ โปรแกรม HRM และ Hardware เช่น เครื่องสแกนนิ้วมือ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ เครื่องบันทึกเวลา Turnstile (Access Control ประตู) ช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมี โปรแกรม ERP Oracle (ระบบบริหารทรัพยากรองค์กร ERP) และโปรแกรม SAP ERP ซึ่งเป็นระบบ ERP ดีที่สุดในประเทศไทย ให้บริการติดตั้งโดยฮิวแมนิก้า ช่วยยกระดับการทำงานและการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตได้อย่างมั่นคง

สนใจหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โปรแกรม HR หรือ HR Software สามารถติดต่อไทเกอร์ซอฟท์ได้ที่

อ่านบทความอื่นๆจากไทเกอร์ซอฟท์ คลิกที่นี่

ฝ่าย HR เลือกใช้โปรแกรมสลิปเงินเดือนอย่างไร ให้องค์กรได้ประโยชน์แบบเต็มๆ

ฝ่าย HR เลือกใช้โปรแกรมสลิปเงินเดือนอย่างไร ให้องค์กรได้ประโยชน์แบบเต็มๆ ค้นพบคำตอบ โปรแกรมสลิปเงินเดือนจำเป็นต่อองค์กรบริษัทของคุณหรือไม่?! คนทำงานคุ้นเคยกับสลิปเงินเดือนกันดี ทั้งในรูปแบบสลิปเงินเดือนกระดาษ และสลิปเงินเดือนออนไลน์ แล้วโปรแกรมสลิปเง […]

12 เม.ย. 2024

Start up ต้องรู้ โปรแกรม payroll ตัวช่วยในการบริหารทีม

Start up ต้องรู้ โปรแกรม payroll ตัวช่วยสำคัญในการบริหารทีม โปรแกรม payroll ระบบการเงินที่สำคัญสำหรับ Start Up โปรแกรม payroll หรือซอฟต์แวร์ช่วยลดขั้นตอนการทำงานของฝ่ายบุคคล ในส่วนงานคำนวณเงินเดือน หรือค่าตอบแทนทุกรูปแบบของพนักงาน มีความสำคัญต่อการพั […]

26 เม.ย. 2023

ความปลอดภัยและประสิทธิภาพการทำงานด้วยเครื่องสแกนหน้า (Face Recognition)

เพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพการทำงานด้วยเครื่องสแกนหน้า (Face Recognition) Face Recognition ยกระดับความปลอดภัยในองค์กรด้วยเครื่องสแกนหน้า ทุกวันนี้เทคโนโลยีระบบ Face Recognition อยู่ใกล้ตัวเรามากขึ้น สังเกตจากการใช้สมาร์ทโฟนยุคนี้ก็มีการสแกนหน้า (F […]

6 ก.ค. 2023