ติดตาม TIGERSOFT ผ่านช่องทางต่างๆ
โปรแกรม HR ราคาคุ้มค่า
เม.ย. 26, 2023

หาคำตอบ มนุษย์เงินเดือนมีสิทธิหักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง?

ไขข้อสงสัย มนุษย์เงินเดือนใช้สิทธิประโยชน์ในการหักลดหย่อนภาษีได้อย่างไรบ้าง ?

การเสียภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ทางกฎหมายของประชาชนทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำที่หากมีรายได้น้อยก็จะเสียภาษีน้อย แต่ถ้าหากมีรายได้มากก็จะต้องเสียภาษีมาก ตามความสามารถในการชำระภาษี (Ability to Pay) ที่สามารถทำการคำนวณได้ผ่านโปรแกรม HR หรือโปรแกรมเงินเดือน เพื่อช่วยให้รัฐบาลมีรายได้สำหรับการนำไปใช้ในการพัฒนาสังคมและประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าทั้งในด้านของเศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข สาธารณูปโภค การศึกษา การคมนาคม และการป้องกันประเทศ

แต่อย่างไรก็ตาม ในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น รัฐบาลก็ยังได้มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนที่ต้องเสียภาษีสามารถใช้สิทธิประโยชน์ในการหักลดหย่อนภาษี เพื่อนำเงินส่วนต่างที่ได้จากการขอหักลดหย่อนภาษีนั้นไปใช้จ่ายหรือลงทุนในระยะยาว เพื่อการวางแผนทางการเงินในวัยเกษียณให้กับตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับใครที่เคยลองดูข้อมูลจากโปรแกรม Payroll หรือ โปรแกรม HR (HR Software) แล้วยังไม่ค่อยเข้าใจนักว่ามนุษย์เงินเดือนแบบเรา ๆ จะสามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้อย่างไรบ้าง ลองมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้ได้เลย

มนุษย์เงินเดือน มีเงินเดือนเท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี ?
ก่อนที่เราจะไปพูดถึงในส่วนของการใช้สิทธิประโยชน์ในการหักลดหย่อนภาษี หลังจากที่เราได้รับเอกสารรับรองรายได้สุทธิในแต่ละปีมาจากโปรแกรม Payroll หรือ โปรแกรมเงินเดือน เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น เราลองมาศึกษาโครงสร้างในการเสียภาษีกันก่อนว่า มนุษย์เงินเดือนแบบเรา ๆ จะมีเงินเดือนเท่าไหร่ถึงจะต้องยื่นภาษีและเสียภาษีให้กับรัฐบาล

สำหรับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะมีทั้งในรูปแบบของ ภงด.91 สำหรับผู้ที่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงแค่อย่างเดียว และ ภงด. 90 สำหรับผู้ที่มีรายได้อื่น ๆ นอกจากเงินเดือนร่วมด้วย โดยหากเรามีรายได้ขั้นต่ำต่อปีถึงเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนด เราก็จะต้องทำการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภายในวันที่ 30 มีนาคมของทุกปี

โดยเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำที่ทางรัฐบาลได้มีการกำหนดให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีรายละเอียดดังนี้

• ยื่นคนเดียว

  • เงินเดือนรวม (ต่อปี): 120,000 บาท
  • เงินได้ประเภทอื่น (ต่อปี): 60,000 บาท

• ยื่นร่วมกับคู่สมรส

  • เงินเดือนรวม (ต่อปี): 220,000 บาท
  • เงินได้ประเภทอื่น (ต่อปี): 120,000 บาท

การคำนวณภาษีเบื้องต้น สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบเบื้องต้น สามารถทำการคำนวณได้จาก ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ X อัตราภาษี โดยสำหรับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะสามารถคำนวณได้จาก 2 วิธี ดังนี้

1. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได
จะเป็นการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ที่มีรายได้จากรายได้ประจำ หรือเงินเดือนประจำเพียงช่องทางเดียว โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท : อัตราภาษี 0% หรือได้รับการยกเว้นภาษี
  • เงินได้สุทธิ 150,000 – 300,000 บาท : อัตราภาษี 5% หรือภาษีสูงสุด 7,500 บาท
  • เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท : อัตราภาษี 10% หรือภาษีสูงสุด 20,000 บาท
  • เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท : อัตราภาษี 15% หรือภาษีสูงสุด 37,500 บาท
  • เงินได้สุทธิ 750,001 – 1,000,000 บาท : อัตราภาษี 20% หรือภาษีสูงสุด 50,000 บาท
  • เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาท : อัตราภาษี 25% หรือภาษีสูงสุด 250,000 บาท
  • เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 บาท : อัตราภาษี 30% หรือภาษีสูงสุด 900,000 บาท
  • เงินได้สุทธิตั้งแต่ 5,000,001 บาท ขึ้นไป : อัตราภาษี 35%

2. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบเหมาจ่าย
จะเป็นการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ที่มีรายได้อื่น ๆ นอกเหนือจากรายได้ประจำ หรือเงินเดือนประจำมากกว่า 120,000 บาทขึ้นไป โดยจะมีการคำนวณแบบเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมินหลังจากที่มีการหักรายได้ประจำออกจากเงินได้ประเภทอื่น ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสำหรับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบเหมาจ่าย หากมีการคำนวณแล้วพบว่ามียอดภาษีต่ำกว่า 5,000 บาท ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีในส่วนนี้ไป

ไขข้อสงสัย มนุษย์เงินเดือนสามารถขอใช้สิทธิประโยชน์ในการหักลดหย่อนภาษีได้อย่างไรบ้าง ?
จากรายละเอียดเกี่ยวกับเกณฑ์ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้กล่าวไปในข้างต้น หากคุณเป็นมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่งที่มีรายได้ทั้งในส่วนของเงินเดือนประจำและรายได้อื่น ๆ อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี การขอใช้สิทธิประโยชน์ในการหักลดหย่อนภาษีก็ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะช่วยให้คุณสามารถลดรายได้สุทธิที่ผ่านการคำนวณข้อมูลมาจากโปรแกรมเงินเดือน หรือ โปรแกรม HR (HR Software) ลง และสามารถจ่ายภาษีได้ในอัตราที่ต่ำลงได้มากขึ้น

โดยสำหรับสิทธิในการลดหย่อนภาษีในปัจจุบันนี้ จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้

1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาทต่อคน และบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป ที่เกิดในหรือหลังปี พ.ศ. 2561 จะสามารถลดหย่อนได้เพิ่มอีกคนละ 30,000 บาท รวมเป็นคนละ 60,000 บาท โดยจะต้องเป็นบุตรโดยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม ที่มีอายุไม่เกิน 20 ปี
  • ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน โดยบิดามารดาจะต้องมีอายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท โดยผู้พิการต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท และมีบัตรประจำตัวผู้พิการ

หมายเหตุ: ในกรณีที่ผู้พิการหรือทุพพลภาพเป็นบิดามารดา – บุตร – คู่สมรสของตนเอง สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ทั้งสองส่วน ได้แก่ ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท และค่าลดหย่อนอุปการะผู้พิการ 60,000 บาท เป็นต้น

2. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

  • เบี้ยประกันสังคม สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 6,300 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยประกันชีวิตต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
  • เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยประกันชีวิตแบบบำนาญต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) สามารถลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds) สามารถลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) หรือ กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) หรือ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
  • เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) สำหรับผู้ที่ลงทุนในหุ้นหรือธุรกิจ Social Enterprise ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป สามารถนำเงินลงทุนไปเป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

3. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

  • เงินบริจาคทั่วไป สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สามารถลดหย่อนได้ 2 เท่า ของเงินตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง นำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

4. ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

  • โครงการช้อปดีมีคืน สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ตามที่จ่ายจริง
  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว คอนโด ห้องชุด และอาคาร เป็นต้น สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

ในปัจจุบันนี้ มีทางเลือกมากมายที่จะช่วยให้มนุษย์เงินเดือนสามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้มากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นแล้วการวางแผนภาษีที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้มนุษย์เงินสามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเพื่อลดรายได้สุทธิที่ผ่านการคำนวณจากโปรแกรม HR (HR Software) และสามารถนำเงินส่วนต่างเหล่านี้ไปลงทุนเพื่อสร้างอนาคตที่มั่นคงให้กับตนเอง

TigerSoft สุดยอดผู้นำด้านโซลูชันงานออฟฟิศ งาน HR และงานบริหารทรัพยากรบุคคลของประเทศไทย พร้อมให้บริการจัดจำหน่ายเครื่องสแกนนิ้วมือ เครื่องสแกนหน้า เครื่องบันทึกเวลา และอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยภายในออฟฟิศและสำนักงานแบบครบวงจร ตลอดจนโปรแกรม HR (HR Software) ต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการใช้งานสูงและมีความเที่ยงตรงในการใช้งานมากที่สุด ซึ่งสามารถช่วยตอบโจทย์ในด้านของความคุ้มค่าในการใช้งานได้อย่างดีที่สุด

สนใจหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Tigersoft

สามารถติดต่อไทเกอร์ซอฟท์ได้ที่

7 สิ่งที่ทำให้คุณถูกเลิกจ้าง โดยไม่ได้รับเงินชดเชย

แม้ “กฎหมายแรงงาน” จะคุ้มครองคนทำงาน แต่กฎหมายนั้น ก็คุ้มครองนายจ้างด้วย เมื่อกระทำความผิดใน 7 กรณีนี้ ก็อาจจะถูกเลิกจ้างได้ และไม่ได้รับค่าชดเชย!

15 ม.ค. 2020

การทำงานของระบบ erp ดีต่อธุรกิจที่มีบริษัทในเครือหลายแห่งอย่างไร

การทำงานของระบบ erp ดีต่อธุรกิจที่มีบริษัทในเครือหลายแห่งอย่างไร เรียนรู้รูปแบบการทำงานของระบบ erp ที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจที่มีบริษัทในเครือ ระบบ erp เป็นระบบที่ดีต่อบริษัทซึ่งมีบริษัทในเครือหลายแห่ง หรือบริษัทที่มีสาขาอยู่ในต่างจังหวัด หรือมีสาขาอยู่ […]

30 ส.ค. 2023

การลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท โปรแกรม Payroll จัดการระบบเงินเดือนทุกรูปแบบ

การลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท โปรแกรม Payroll จัดการระบบเงินเดือนทุกรูปแบบ โปรแกรมเงินเดือน โปรแกรม Payroll เครื่องมือสำคัญที่ทุกองค์กรธุรกิจควรมี การใช้โปรแกรม Payroll ที่สามารถจัดการระบบเงินเดือนของพนักงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ […]

19 มี.ค. 2024